จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและรูป
เมื่อทั้งสามสิ่งนี้มาประชุมกัน จึงเกิดผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
บุคคลเสวยเวทนาอันใด ก็จำเวทนาอันนั้น
บุคคลจำเวทนาอันใด ก็ตรึกถึงเวทนาอันนั้น
บุคคลตรึกถึงเวทนาอันใด ก็ปรุงแต่งเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันนั้น
บุคคลปรุงแต่งเนิ่นช้าที่เวทนาอันใด สัญญาเครื่องเนิ่นช้า อันเกิดจากการปรุงแต่งเกี่ยวกับรูปทั้งหลายที่พึงจะรู้ได้ด้วยตา -ไม่ว่าจะเป็นอดีตก็ดี เป็นอนาคตก็ดี เป็นปัจจุบันก็ดี- ก็จะครอบงำบุรุษ
*สัญญาเครื่องเนิ่นช้า (ปปัญจะ) หมายถึง กิเลสที่ทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อ ด้วยอำนาจแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ ต่างๆ
วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560
วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2560
อริยสัจ ๔ และ สติปัฏฐาน
อริยสัจ ๔ และ สติปัฏฐาน เป็นเรื่องที่ไม่เข้าใจมานาน
ยังเคยสนทนาว่า เพียงพูดว่า "อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค" ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่าจะถึงพระนิพพานได้อย่างไร
วันนี้ก็มีความเข้าใจมากขึ้น เพราะเจอมหาสติปัฏฐานสูตร ก็ไขข้อข้องใจเรื่องสติปัฏฐานได้เป็นอย่างดี จากเคยสงสัยว่า ให้ดูกาย ยืน เดิน นั่ง นอน ดูแล้วแล้วยังไง
จริงๆแล้ว สติปัฏฐานเริ่มที่สมถะและจบที่วิปัสสนา ในพระสูตร แม้จะดูกาย เวทนา จิต ธรรม ก็มักจะจบว่า "สักว่าเป็นที่รู้ สักว่าเป็นที่อาศัย ไม่ติดอยู่ ไม่ยึดถืออะไรๆ"
ในส่วนของธรรมนั้น ก็มีอริยสัจ ๔ เป็นบทพิจารณาหนึ่ง
ธรรมะทุกหัวข้อที่พระองค์สอน ก็เป็นไปเพื่ออริยสัจ เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริงนั่นเอง
เช่นว่า "สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา"
มีสังขารจึงมีความไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์
เพราะเป็นอนัตตา ไม่ควรยึดถือเป็นเรา เป็นของเรา
ก็เห็นทั้งทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรคในคราวเดียว
จึงสรุปได้ว่า...
ไม่ใช่สอนว่า "อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค"
แต่ธรรมะที่พระองค์สอนนั้นแหละ คืออริยสัจ ๔
(พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร พระพุทธเจ้าสอนอะไร...
จะเรียก ธรรมะ ก็ได้ แต่จะไม่เป็นเอก เพราะสิ่งที่พระองค์สอน ไม่เคยมีใครสอนมาก่อน นั่นคือ สอนให้เห็นความจริง เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น)
ยังเคยสนทนาว่า เพียงพูดว่า "อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค" ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่าจะถึงพระนิพพานได้อย่างไร
วันนี้ก็มีความเข้าใจมากขึ้น เพราะเจอมหาสติปัฏฐานสูตร ก็ไขข้อข้องใจเรื่องสติปัฏฐานได้เป็นอย่างดี จากเคยสงสัยว่า ให้ดูกาย ยืน เดิน นั่ง นอน ดูแล้วแล้วยังไง
จริงๆแล้ว สติปัฏฐานเริ่มที่สมถะและจบที่วิปัสสนา ในพระสูตร แม้จะดูกาย เวทนา จิต ธรรม ก็มักจะจบว่า "สักว่าเป็นที่รู้ สักว่าเป็นที่อาศัย ไม่ติดอยู่ ไม่ยึดถืออะไรๆ"
ในส่วนของธรรมนั้น ก็มีอริยสัจ ๔ เป็นบทพิจารณาหนึ่ง
ธรรมะทุกหัวข้อที่พระองค์สอน ก็เป็นไปเพื่ออริยสัจ เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริงนั่นเอง
เช่นว่า "สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา"
มีสังขารจึงมีความไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์
เพราะเป็นอนัตตา ไม่ควรยึดถือเป็นเรา เป็นของเรา
ก็เห็นทั้งทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรคในคราวเดียว
จึงสรุปได้ว่า...
ไม่ใช่สอนว่า "อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค"
แต่ธรรมะที่พระองค์สอนนั้นแหละ คืออริยสัจ ๔
(พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร พระพุทธเจ้าสอนอะไร...
จะเรียก ธรรมะ ก็ได้ แต่จะไม่เป็นเอก เพราะสิ่งที่พระองค์สอน ไม่เคยมีใครสอนมาก่อน นั่นคือ สอนให้เห็นความจริง เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น)
วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
พระพุทธเจ้าสอนอะไร
...สัจจวิภังคสูตร...
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ได้ประกาศธรรมจักรอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อันสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก ยังไม่เคยประกาศ ได้แก่ อริยสัจ ๔ คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ...
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน คือ ชาติก็เป็นทุกข์ ชราก็เป็นทุกข์ มรณะก็เป็นทุกข์ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส ก็เป็นทุกข์ ความไม่ได้สมปรารถนาก็เป็นทุกข์ โดยประมวลแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ฯ
ก็ชาติเป็นไฉน ได้แก่ ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้เฉพาะซึ่งอายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายนั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ
ก็ชราเป็นไฉน ได้แก่ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความเป็นผู้มีฟันหัก มีผมหงอก มีหนังย่น ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายนั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ฯ
ก็มรณะเป็นไฉน ได้แก่ ความจุติ ความเคลื่อนไป ความแตก ความอันตรธาน ความตาย ความมรณะ การทำกาละ ความสลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่าง ความขาดชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์
นั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายนั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ฯ
ก็โสกะเป็นไฉน ได้แก่ ความโศก ความเศร้า ความเหี่ยวแห้งใจ ความเหี่ยวแห้งภายใน ความเหี่ยวแห้งรอบในภายใน ของบุคคลผู้ประจวบกับความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว นี้เรียกว่าโสกะ ฯ
ก็ปริเทวะเป็นไฉน ได้แก่ ความรำพัน ความร่ำไร กิริยารำพัน กิริยาร่ำไร ลักษณะที่รำพัน ลักษณะที่ร่ำไร ของบุคคลที่ประจวบกับความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว นี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ
ก็ทุกขะเป็นไฉน ได้แก่ ความลำบากกาย ความไม่สบายกาย ความเสวยอารมณ์ที่ลำบาก ที่ไม่สบาย อันเกิดแต่สัมผัสทางกาย นี้เรียกว่าทุกขะ ฯ
ก็โทมนัสเป็นไฉน ได้แก่ ความลำบากใจ ความไม่สบายใจ ความเสวยอารมณ์ที่ลำบาก ที่ไม่สบาย อันเกิดแต่สัมผัสทางใจ นี้เรียกว่าโทมนัส ฯ
ก็อุปายาสเป็นไฉน ได้แก่ ความคับใจ ความแค้นใจ ลักษณะที่คับใจ ลักษณะที่แค้นใจ ของบุคคลผู้ประจวบกับความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว นี้เรียกว่า
อุปายาส ฯ
ก็ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์เป็นไฉน ได้แก่
- สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องเกิดเป็นธรรมดา และความเกิดอย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใครๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่า ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์
- สัตว์ทั้งหลายผู้มีความแก่เป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องแก่เป็นธรรมดา และความแก่อย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใครๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่าความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์
- สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องเจ็บไข้เป็นธรรมดา และความเจ็บไข้อย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใครๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่า ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์
- สัตว์ทั้งหลายผู้มีความตายเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องตายเป็นธรรมดา และความตายอย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใครๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่า ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์
- สัตว์ทั้งหลายผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องมีโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดา และโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาสอย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใครๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่า ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์ ฯ
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็โดยประมวลแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์เป็นไฉน คืออย่างนี้ อุปาทานขันธ์คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่า โดยประมวลแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ฯ
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน ได้แก่ ตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ได้แก่ ความดับด้วยอำนาจคลายกำหนัดไม่มีส่วนเหลือ ความสละ ความสลัดคืน ความปล่อย ความไม่มีอาลัย ซึ่งตัณหานั้นนั่นแล นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐนี้แล ซึ่งมีดังนี้ (๑) สัมมาทิฐิ (๒) สัมมาสังกัปปะ (๓) สัมมาวาจา (๔) สัมมากัมมันตะ (๕) สัมมาอาชีวะ (๖) สัมมาวายามะ (๗) สัมมาสติ (๘) สัมมาสมาธิ ฯ
ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ได้แก่ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้เรียกว่าสัมมาทิฐิ ฯ
ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ได้แก่ ความดำริในเนกขัมมะ ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่าสัมมาสังกัปปะ ฯ
ก็สัมมาวาจาเป็นไฉน ได้แก่ เจตนา เป็นเครื่องงดเว้นจากพูดเท็จ จากพูดส่อเสียด จากพูดคำหยาบ จากเจรจาเพ้อเจ้อนี้เรียกว่า สัมมาวาจา ฯ
ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน ได้แก่ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร นี้เรียกว่าสัมมากัมมันตะ ฯ
ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละมิจฉาชีพแล้ว สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยสัมมาชีพ นี้เรียกว่าสัมมาอาชีวะ ฯ
ก็สัมมาวายามะเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมให้เกิดฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น ๑ เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วเสีย ๑ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นได้เกิดขึ้น ๑ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฝือ เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ และบริบูรณ์ของกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ นี้เรียกว่าสัมมาวายามะ ฯ
ก็สัมมาสติเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ... เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต ... เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ นี้เรียกว่าสัมมาสติ ฯ
ก็สัมมาสมาธิเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน ... อยู่ เป็นผู้วางเฉย เพราะหน่ายปีติ มีสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ... อยู่ เข้าจตุตถฌาน ... อยู่นี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ ฯ
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ฯ
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ได้ทรงประกาศธรรมจักรอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อันสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก ยังไม่เคยประกาศ ได้แก่ อริยสัจ ๔ นี้ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ได้ประกาศธรรมจักรอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อันสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก ยังไม่เคยประกาศ ได้แก่ อริยสัจ ๔ คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ...
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน คือ ชาติก็เป็นทุกข์ ชราก็เป็นทุกข์ มรณะก็เป็นทุกข์ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส ก็เป็นทุกข์ ความไม่ได้สมปรารถนาก็เป็นทุกข์ โดยประมวลแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ฯ
ก็ชาติเป็นไฉน ได้แก่ ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้เฉพาะซึ่งอายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายนั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ
ก็ชราเป็นไฉน ได้แก่ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความเป็นผู้มีฟันหัก มีผมหงอก มีหนังย่น ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายนั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ฯ
ก็มรณะเป็นไฉน ได้แก่ ความจุติ ความเคลื่อนไป ความแตก ความอันตรธาน ความตาย ความมรณะ การทำกาละ ความสลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่าง ความขาดชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์
นั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายนั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ฯ
ก็โสกะเป็นไฉน ได้แก่ ความโศก ความเศร้า ความเหี่ยวแห้งใจ ความเหี่ยวแห้งภายใน ความเหี่ยวแห้งรอบในภายใน ของบุคคลผู้ประจวบกับความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว นี้เรียกว่าโสกะ ฯ
ก็ปริเทวะเป็นไฉน ได้แก่ ความรำพัน ความร่ำไร กิริยารำพัน กิริยาร่ำไร ลักษณะที่รำพัน ลักษณะที่ร่ำไร ของบุคคลที่ประจวบกับความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว นี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ
ก็ทุกขะเป็นไฉน ได้แก่ ความลำบากกาย ความไม่สบายกาย ความเสวยอารมณ์ที่ลำบาก ที่ไม่สบาย อันเกิดแต่สัมผัสทางกาย นี้เรียกว่าทุกขะ ฯ
ก็โทมนัสเป็นไฉน ได้แก่ ความลำบากใจ ความไม่สบายใจ ความเสวยอารมณ์ที่ลำบาก ที่ไม่สบาย อันเกิดแต่สัมผัสทางใจ นี้เรียกว่าโทมนัส ฯ
ก็อุปายาสเป็นไฉน ได้แก่ ความคับใจ ความแค้นใจ ลักษณะที่คับใจ ลักษณะที่แค้นใจ ของบุคคลผู้ประจวบกับความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว นี้เรียกว่า
อุปายาส ฯ
ก็ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์เป็นไฉน ได้แก่
- สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องเกิดเป็นธรรมดา และความเกิดอย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใครๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่า ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์
- สัตว์ทั้งหลายผู้มีความแก่เป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องแก่เป็นธรรมดา และความแก่อย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใครๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่าความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์
- สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องเจ็บไข้เป็นธรรมดา และความเจ็บไข้อย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใครๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่า ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์
- สัตว์ทั้งหลายผู้มีความตายเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องตายเป็นธรรมดา และความตายอย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใครๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่า ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์
- สัตว์ทั้งหลายผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องมีโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดา และโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาสอย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใครๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่า ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์ ฯ
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็โดยประมวลแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์เป็นไฉน คืออย่างนี้ อุปาทานขันธ์คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่า โดยประมวลแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ฯ
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน ได้แก่ ตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ได้แก่ ความดับด้วยอำนาจคลายกำหนัดไม่มีส่วนเหลือ ความสละ ความสลัดคืน ความปล่อย ความไม่มีอาลัย ซึ่งตัณหานั้นนั่นแล นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐนี้แล ซึ่งมีดังนี้ (๑) สัมมาทิฐิ (๒) สัมมาสังกัปปะ (๓) สัมมาวาจา (๔) สัมมากัมมันตะ (๕) สัมมาอาชีวะ (๖) สัมมาวายามะ (๗) สัมมาสติ (๘) สัมมาสมาธิ ฯ
ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ได้แก่ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้เรียกว่าสัมมาทิฐิ ฯ
ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ได้แก่ ความดำริในเนกขัมมะ ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่าสัมมาสังกัปปะ ฯ
ก็สัมมาวาจาเป็นไฉน ได้แก่ เจตนา เป็นเครื่องงดเว้นจากพูดเท็จ จากพูดส่อเสียด จากพูดคำหยาบ จากเจรจาเพ้อเจ้อนี้เรียกว่า สัมมาวาจา ฯ
ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน ได้แก่ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร นี้เรียกว่าสัมมากัมมันตะ ฯ
ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละมิจฉาชีพแล้ว สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยสัมมาชีพ นี้เรียกว่าสัมมาอาชีวะ ฯ
ก็สัมมาวายามะเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมให้เกิดฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น ๑ เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วเสีย ๑ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นได้เกิดขึ้น ๑ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฝือ เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ และบริบูรณ์ของกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ นี้เรียกว่าสัมมาวายามะ ฯ
ก็สัมมาสติเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ... เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต ... เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ นี้เรียกว่าสัมมาสติ ฯ
ก็สัมมาสมาธิเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน ... อยู่ เป็นผู้วางเฉย เพราะหน่ายปีติ มีสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ... อยู่ เข้าจตุตถฌาน ... อยู่นี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ ฯ
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ฯ
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ได้ทรงประกาศธรรมจักรอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อันสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก ยังไม่เคยประกาศ ได้แก่ อริยสัจ ๔ นี้ ฯ
วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
เวทนา
...ความย่อ...
พระโมคคัลลานะทูลถามว่า ด้วยข้อปฏิบัติอย่างไร ภิกษุจึงได้ชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัญหา มีความสำเร็จอย่างยิ่ง เกษมจากโยคะธรรมอย่างยิ่ง ...
พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า โมคคัลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงอันใครๆไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ครั้นได้สดับดังนี้แล้ว เธอทราบธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง ครั้นทราบธรรมทั้งปวงชัดอย่างนี้แล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว ว่าเธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นสุขก็ดี จะเป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นว่า เป็นของไม่เที่ยง เมื่อเป็นดังนี้ เธอย่อมมีปัญญาในทางเบื่อหน่าย ในทางดับ ในทางสละคืนซึ่งเวทนา คือความรู้สึกในอารมณ์ทั้งปวง เมื่อเป็นดังนี้ เธอย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดๆในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสได้เฉพาะตน เพราะทราบชัดว่า ความเกิดสิ้นแล้ว พรมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะทำให้เป็นอย่างนี้ไม่มีอีกแล้ว ...
พระโมคคัลลานะทูลถามว่า ด้วยข้อปฏิบัติอย่างไร ภิกษุจึงได้ชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัญหา มีความสำเร็จอย่างยิ่ง เกษมจากโยคะธรรมอย่างยิ่ง ...
พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า โมคคัลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงอันใครๆไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ครั้นได้สดับดังนี้แล้ว เธอทราบธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง ครั้นทราบธรรมทั้งปวงชัดอย่างนี้แล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว ว่าเธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นสุขก็ดี จะเป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นว่า เป็นของไม่เที่ยง เมื่อเป็นดังนี้ เธอย่อมมีปัญญาในทางเบื่อหน่าย ในทางดับ ในทางสละคืนซึ่งเวทนา คือความรู้สึกในอารมณ์ทั้งปวง เมื่อเป็นดังนี้ เธอย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดๆในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสได้เฉพาะตน เพราะทราบชัดว่า ความเกิดสิ้นแล้ว พรมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะทำให้เป็นอย่างนี้ไม่มีอีกแล้ว ...
ดูกรโมคคัลลานะ โอวาทที่ว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงอันบุคคลไม่ควรยึดมั่นถือมั่นนั้น เป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็นยอดของธรรมอันเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ โดยไม่มีเชื้อเหลือ คือความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง อนุปาทาปรินิพาน
สิ่งใดที่บุคคลเข้าไปยึดมั่นแล้ว จะไม่ก่อให้เกิดทุกข์นั้น หามีไม่ แต่โลกนี้มีเหยี่อล่อ เพื่อให้ผู้ไม่รู้เท่าทันติดอยู่ สยบอยู่ หมกมุ่นพัวพันอยู่ และโลกก็นำทุกข์นั้นเจือลงไป แทรกซึมลงไว้ ในสิ่งที่บุคคลติดอยู่ หมกมุ่นพัวพันอยู่นั่นเอง โลกนี้พร่องอยู่เป็นนิจ ใครขวนขวายปรารถนาในอารมณ์โลก ก็เหมือนกับการตักน้ำไปเทรดทะเลทราย หรือการขนน้ำลงไปเทลงในมหาสมุทร เหนื่อยแรงเปล่า ชาวโลกจึงมีความเร่าร้อนดิ้นรน เพื่อให้เต็มปราถนา แต่ก็หาสำเร็จไม่ ยิ่งดื่มอารมณ์โลก ทุกข์เวทนาอย่างโลกๆ ก็ดูเหมือนว่า จะเพิ่มความอยากให้มากขึ้น เหมือนดื่มน้ำเค็ม ยิ่งดื่มยิ่งกระหาย หรือเหมือนคนที่เกาแผลคัน ยิ่งเกายิ่งคัน ยิ่งคันยิ่งเกา วนเวียนอยู่อย่างนั้น สู้คนที่พยายามรักษาแผลให้หาย แล้วไม่ต้องเกาไม่ได้ เป็นการดับที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง
วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
เห็นคุณค่า
พระมหากัปปินเถระ...ความย่อ...
สมัยพุทธกาล มีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งชื่อ พระมหากัปปินะราชา จะส่งอำมาตย์ออกไปสืบข่าวจากพระนครไปไกล ๒-๓ โยชน์ วันหนึ่งได้ทราบข่าวจากพวกพ่อค้าจากกรุงสาวัตถีว่า
พระเจ้ามหากัปปินะได้สดับดังนั้น ก็เกิดปิติ ท่านถามซ้ำอีก ๓ ครั้ง จึงรับสั่งให้พระราชทานรางวัลแก่พ่อค้า และสละราชสมบัติให้พระชายา ส่วนพระองค์เองก็เสด็จออกบวช
ส่วนพระนางอโนชาเทวี พระชายาเมื่อได้รับข่าวแล้ว เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า เสด็จออกบวชเช่นกัน ทั้งสองพระองค์สำเร็จเป็นพระอรหันต์
พวกภิกษุก็ตอบว่า
“ดูก่อนพราหมณ์ พวกเราใช่ว่าจะไม่ได้ความสุขที่ถาวรแล้ววิ่งไปหาความสุขชั่วคราว แต่พวกเราละทิ้งความสุขชั่วคราวเพื่อมุ่งไปสู่ความสุขอันเป็นอมตะ ซึ่งสามารถเห็นได้ในปัจจุบันต่างหากเล่า ดูก่อนพราหมณ์ เพราะว่ากามทั้งหลายเป็นของชั่วคราว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายมีมาก ธรรมนี้มีผลที่จะเห็นได้ด้วยตัวเอง ไม่จำกัดด้วยกาล เป็นของควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาไว้ในตน เป็นของอันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน” มารเมื่อเห็นว่าพวกภิกษุไม่ยอมเชื่อฟังตัวเอง จึงได้อันตรธานหายไป
มารได้กล่าวว่า “ดูก่อนภิกษุณี ท่านไม่ชอบใจอะไรหนอ”
จาลาภิกษุณีก็ตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เราไม่ชอบความเกิดเลย”
มารถามต่อว่า “ทำไมถึงไม่ชอบความเกิด ผู้เกิดมาแล้วย่อมบริโภคกาม ใครหนอให้ท่านยึดถืออย่างนี้ อย่าเลยภิกษุณี ท่านจงชอบความเกิดเถิด จะได้แสวงหาความสุขเรื่อยไป”
จาลาภิกษุณีก็กล่าวว่า “ผู้เกิดมาก็ต้องตาย ผู้ที่เกิดมาย่อมพบเห็นทุกข์ คือ การจองจำ การฆ่า การพลัดพรากจากบุคคลผู้เป็นที่รัก หรืออยู่กับผู้ไม่เป็นที่รัก เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ชอบความเกิด”
สมัยพุทธกาล มีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งชื่อ พระมหากัปปินะราชา จะส่งอำมาตย์ออกไปสืบข่าวจากพระนครไปไกล ๒-๓ โยชน์ วันหนึ่งได้ทราบข่าวจากพวกพ่อค้าจากกรุงสาวัตถีว่า
พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก
พระธรรมเกิดขึ้นแล้วในโลก
พระสงฆ์เกิดขึ้นแล้วในโลก
พระเจ้ามหากัปปินะได้สดับดังนั้น ก็เกิดปิติ ท่านถามซ้ำอีก ๓ ครั้ง จึงรับสั่งให้พระราชทานรางวัลแก่พ่อค้า และสละราชสมบัติให้พระชายา ส่วนพระองค์เองก็เสด็จออกบวช
เส้นทางเสด็จของพระเจ้ามหากัปปินะนั้น เต็มไปด้วยความยากลำบาก ผ่านทั้งป่าและภูเขา โดยเฉพาะแม่น้ำใหญ่ ๓ สาย จึงดำริว่า “ถ้าจะรอเวลาหาเรือหรือแพก็จะทำให้ล่าช้า เพราะความเกิดนำไปสู่ความแก่ ความแก่นำไปสู่ความเจ็บและความเจ็บนำไปสู่ความตาย ทุกลมหายใจเข้าออกย่อมนำไปสู่ความแก่และความตายทั้งนั้น เราไม่รู้ว่าความตายจะมาถึงเราเมื่อไร ดังนั้นเราออกบวชเพื่ออุทิศต่อพระรัตนตรัย ด้วยอานุภาพแห่งรัตนตรัยนั้น ขอให้น้ำนี้จงอย่าได้เป็นเหมือนน้ำเลย” ครั้นเสด็จลงสู่แม่น้ำ ม้าก็วิ่งไปเหมือนวิ่งบนแผ่นดินโดยไม่เปียกเลย
ส่วนพระนางอโนชาเทวี พระชายาเมื่อได้รับข่าวแล้ว เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า เสด็จออกบวชเช่นกัน ทั้งสองพระองค์สำเร็จเป็นพระอรหันต์
.....
ท่านทั้งสองเห็นความสำคัญว่า
โอกาสที่พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นนั้นยากแสนยาก
โอกาสที่พระธรรมจะปรากฏบนโลกนั้นยากแสนยาก
โอกาสที่พระสงฆ์จะพัฒนาตนไปสู่ความบริสุทธิ์หมดจดนั้นยากแสนยาก
.....
มารผู้ใจบาปได้เนรมิตร่างเป็นพราหมณ์แก่ ห่มหนังเสือ หายใจเสียงดังครืดคราดๆ เดินถือไม้เท้าเข้าไปหาหมู่ภิกษุสงฆ์ ผู้กำลังปรารภความเพียร เมื่อไปถึงก็ได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นว่า
“ท่านบรรพชิตทั้งหลาย พวกท่านแต่ละรูปล้วนเป็นคนหนุ่มกระชุ่มกระชวย มีผมดำ ประกอบด้วยความหนุ่มแน่น ยังอยู่ในปฐมวัยไม่ควรเบื่อหน่ายในกามารมณ์ทั้งหลาย ขอท่านจงบริโภคกามอันเป็นของมนุษย์เถิด อย่ายินดีในสิ่งที่มองไม่เห็นได้ด้วยตา หนีจากสุขอันสมบูรณ์ไปแสวงหาสุขอันไม่จีรังยั่งยืนเลย”
“ท่านบรรพชิตทั้งหลาย พวกท่านแต่ละรูปล้วนเป็นคนหนุ่มกระชุ่มกระชวย มีผมดำ ประกอบด้วยความหนุ่มแน่น ยังอยู่ในปฐมวัยไม่ควรเบื่อหน่ายในกามารมณ์ทั้งหลาย ขอท่านจงบริโภคกามอันเป็นของมนุษย์เถิด อย่ายินดีในสิ่งที่มองไม่เห็นได้ด้วยตา หนีจากสุขอันสมบูรณ์ไปแสวงหาสุขอันไม่จีรังยั่งยืนเลย”
พวกภิกษุก็ตอบว่า
“ดูก่อนพราหมณ์ พวกเราใช่ว่าจะไม่ได้ความสุขที่ถาวรแล้ววิ่งไปหาความสุขชั่วคราว แต่พวกเราละทิ้งความสุขชั่วคราวเพื่อมุ่งไปสู่ความสุขอันเป็นอมตะ ซึ่งสามารถเห็นได้ในปัจจุบันต่างหากเล่า ดูก่อนพราหมณ์ เพราะว่ากามทั้งหลายเป็นของชั่วคราว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายมีมาก ธรรมนี้มีผลที่จะเห็นได้ด้วยตัวเอง ไม่จำกัดด้วยกาล เป็นของควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาไว้ในตน เป็นของอันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน” มารเมื่อเห็นว่าพวกภิกษุไม่ยอมเชื่อฟังตัวเอง จึงได้อันตรธานหายไป
.....
มารได้กล่าวว่า “ดูก่อนภิกษุณี ท่านไม่ชอบใจอะไรหนอ”
จาลาภิกษุณีก็ตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เราไม่ชอบความเกิดเลย”
มารถามต่อว่า “ทำไมถึงไม่ชอบความเกิด ผู้เกิดมาแล้วย่อมบริโภคกาม ใครหนอให้ท่านยึดถืออย่างนี้ อย่าเลยภิกษุณี ท่านจงชอบความเกิดเถิด จะได้แสวงหาความสุขเรื่อยไป”
จาลาภิกษุณีก็กล่าวว่า “ผู้เกิดมาก็ต้องตาย ผู้ที่เกิดมาย่อมพบเห็นทุกข์ คือ การจองจำ การฆ่า การพลัดพรากจากบุคคลผู้เป็นที่รัก หรืออยู่กับผู้ไม่เป็นที่รัก เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ชอบความเกิด”
.....
วันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2560
ทางโลก กับ ทางธรรม
ประเด็นที่ว่า 'ทางโลก กับ ทางธรรม' ไปด้วยกันได้ไหม คำตอบคงมีทั้งสองแบบ
แต่จากประสบการณ์ส่วนตัว ก็ต้องตอบว่า ทั้งสองอย่างนี้ไปด้วยกันไม่ได้
ทางโลกนั้น วิถีทางโดยทั่วไป ก็คือ ทำงาน เติบโตในหน้าที่การงาน แสวงหาให้มีกินมีใช้ และหาคู่ครอง แต่งงานมีครอบครัว มีลูกหลานต่อไป หรือเป็นผู้หญิง ถ้าจะให้ดี ก็ต้องแต่งหน้าแต่งตัว รักสวยรักงาม
แต่เมื่อสนใจทางธรรมแล้ว มันไม่อยาก หรือเรียกว่า ใจมันไม่ได้ ที่จะให้หลงรักร่างกาย หรือจะหาคู่ มันรู้สึกถึงความหนัก เพราะแค่ขันธ์ 5 ตัวเองก็ยังไม่อยากได้เลย
ขอยกตัวอย่างธรรมะมาประกอบ (ไม่ได้บอกว่าตนเองได้นะ)
บุคคลใดเมื่อเกิดนิพพิทาญาณ ก็เกิดความเบื่อหน่าย จิตเบื่อหน่ายก็คลายกำหนัด ความปรารถนาในการเกิดไม่มี ความปรารถนาในร่างกายตนเองไม่มี ความปรารถนาในร่างกายผู้อื่นไม่มี ความปรารถนาในโลกนี้ไม่มี ความปรารถนาที่จะเกิดเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นพรหมไม่มี
...นี่คือเหตุผลที่ทั้งสองทางนี้ไปด้วยกันไม่ได้
แต่จากประสบการณ์ส่วนตัว ก็ต้องตอบว่า ทั้งสองอย่างนี้ไปด้วยกันไม่ได้
ทางโลกนั้น วิถีทางโดยทั่วไป ก็คือ ทำงาน เติบโตในหน้าที่การงาน แสวงหาให้มีกินมีใช้ และหาคู่ครอง แต่งงานมีครอบครัว มีลูกหลานต่อไป หรือเป็นผู้หญิง ถ้าจะให้ดี ก็ต้องแต่งหน้าแต่งตัว รักสวยรักงาม
แต่เมื่อสนใจทางธรรมแล้ว มันไม่อยาก หรือเรียกว่า ใจมันไม่ได้ ที่จะให้หลงรักร่างกาย หรือจะหาคู่ มันรู้สึกถึงความหนัก เพราะแค่ขันธ์ 5 ตัวเองก็ยังไม่อยากได้เลย
ขอยกตัวอย่างธรรมะมาประกอบ (ไม่ได้บอกว่าตนเองได้นะ)
บุคคลใดเมื่อเกิดนิพพิทาญาณ ก็เกิดความเบื่อหน่าย จิตเบื่อหน่ายก็คลายกำหนัด ความปรารถนาในการเกิดไม่มี ความปรารถนาในร่างกายตนเองไม่มี ความปรารถนาในร่างกายผู้อื่นไม่มี ความปรารถนาในโลกนี้ไม่มี ความปรารถนาที่จะเกิดเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นพรหมไม่มี
...นี่คือเหตุผลที่ทั้งสองทางนี้ไปด้วยกันไม่ได้
วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560
พุทธพจน์?
สมัยเรียน วิชาที่ไม่ชอบนอกเหนือจากวิชาพละแล้ว ก็คือวิชาพระพุทธศาสนา เพราะไม่ชอบเนื้อหาในหนังสือเรียนเลย...
เหมือนอย่างกรณีที่มีคนกล่าวว่า 'พระพุทธเจ้าตรัสว่า พ่อแม่คือพระอรหันต์(ของลูก)'
แหม้... อย่างนี้เลิกศึกษาคำสอน เลิกปฏิบัติดีกว่า แค่มีลูกก็ได้เป็นพระอรหันต์แล้ว ดีจะตาย...
จากเท่าที่อ่านที่ศึกษามา คำสอนของพระพุทธเจ้า ยิ่งอ่านยิ่งลึกซึ้ง ยิ่งศรัทธา แต่ประโยคข้างต้นนี้ มันขัดใจมาก ไม่น่าใช่...
จึงมาลองค้นหาดู พบว่า ไม่มีในพระไตรปิฎก!
พระสูตรนั้นกล่าวว่า บิดามารดา คือ พรหมของบุตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนของตน สกุลนั้นมีพรหม
สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนของตน สกุลนั้นมีบุรพาจารย์
สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนของตน สกุลนั้นมีอาหุไนยบุคคล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่าพรหมนี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา
คำว่าบุรพาจารย์นี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา
คำว่าอาหุไนยบุคคลนี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา
ก็เห็นเป็นจริง เพราะพ่อแม่นั้นมี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ต่อลูก ด้วยใจบริสุทธิ์
ส่วนต้นเรื่องนั้น น่าจะมาจากนิทานจีน ที่มีผู้ออกแสวงหาพระอรหันต์ จนกระทั่งพบ พระรูปนั้นจึงบอกว่า ให้ไหว้พระอรหันต์ในบ้าน
ที่เขียนอย่างนี้ก็อย่าได้เข้าใจผิดว่า จะอกตัญญูหรืออย่างไร เรื่องความกตัญญูนั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนเสมอ เช่น ทิศ 6 และมงคล 38
ซึ่งตรงนี้เข้าใจเจตนาของผู้กล่าวดี และเข้าใจว่าเป็นการเปรียบเทียบ แต่คงเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ค่อยจะตรงนัก เพราะคุณธรรมของพ่อแม่ในส่วนนี้นั้น เทียบได้กับพรหม มิใช่พระอรหันต์
แค่ไม่อยากเห็นคำสอนที่บิดเบือนไป...เท่านั้นเอง
เหมือนอย่างกรณีที่มีคนกล่าวว่า 'พระพุทธเจ้าตรัสว่า พ่อแม่คือพระอรหันต์(ของลูก)'
แหม้... อย่างนี้เลิกศึกษาคำสอน เลิกปฏิบัติดีกว่า แค่มีลูกก็ได้เป็นพระอรหันต์แล้ว ดีจะตาย...
จากเท่าที่อ่านที่ศึกษามา คำสอนของพระพุทธเจ้า ยิ่งอ่านยิ่งลึกซึ้ง ยิ่งศรัทธา แต่ประโยคข้างต้นนี้ มันขัดใจมาก ไม่น่าใช่...
จึงมาลองค้นหาดู พบว่า ไม่มีในพระไตรปิฎก!
พระสูตรนั้นกล่าวว่า บิดามารดา คือ พรหมของบุตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนของตน สกุลนั้นมีพรหม
สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนของตน สกุลนั้นมีบุรพาจารย์
สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนของตน สกุลนั้นมีอาหุไนยบุคคล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่าพรหมนี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา
คำว่าบุรพาจารย์นี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา
คำว่าอาหุไนยบุคคลนี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา
ก็เห็นเป็นจริง เพราะพ่อแม่นั้นมี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ต่อลูก ด้วยใจบริสุทธิ์
ส่วนต้นเรื่องนั้น น่าจะมาจากนิทานจีน ที่มีผู้ออกแสวงหาพระอรหันต์ จนกระทั่งพบ พระรูปนั้นจึงบอกว่า ให้ไหว้พระอรหันต์ในบ้าน
ที่เขียนอย่างนี้ก็อย่าได้เข้าใจผิดว่า จะอกตัญญูหรืออย่างไร เรื่องความกตัญญูนั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนเสมอ เช่น ทิศ 6 และมงคล 38
ซึ่งตรงนี้เข้าใจเจตนาของผู้กล่าวดี และเข้าใจว่าเป็นการเปรียบเทียบ แต่คงเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ค่อยจะตรงนัก เพราะคุณธรรมของพ่อแม่ในส่วนนี้นั้น เทียบได้กับพรหม มิใช่พระอรหันต์
แค่ไม่อยากเห็นคำสอนที่บิดเบือนไป...เท่านั้นเอง
วันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
วิปัสสนา - ไตรลักษณ์ ขันธ์ ๕
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เพราะบังเกิดขึ้นและฉิบหาย เสื่อมสิ้นและแปรปรวนเป็นอย่างอื่น
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เพราะเบียดเบียนบีบคั้นเนืองๆ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารและวิสังขารล้วนเป็นอนัตตา เพราะมิได้เป็นไปในอำนาจ
ผู้เจริญติลักขณานุปัสสนา พึงรู้ฐานะทั้ง ๖
ดังนี้แล้ว ย่อมหน่ายในทุกข์คือบริหารซึ่งขันธ์ร่างกาย
นี้เป็นมรรคา เป็นอุบายแห่งพระนิพพาน
เมื่อเห็นลงเป็นยถาภูตญาณทัสสนะ ถอนคาหะ ๓ อย่างดังนี้ ก็ย่อมหน่ายทั้งในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เพราะเบียดเบียนบีบคั้นเนืองๆ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารและวิสังขารล้วนเป็นอนัตตา เพราะมิได้เป็นไปในอำนาจ
ผู้เจริญติลักขณานุปัสสนา พึงรู้ฐานะทั้ง ๖
ดังนี้แล้ว ย่อมหน่ายในทุกข์คือบริหารซึ่งขันธ์ร่างกาย
นี้เป็นมรรคา เป็นอุบายแห่งพระนิพพาน
เมื่อเห็นลงเป็นยถาภูตญาณทัสสนะ ถอนคาหะ ๓ อย่างดังนี้ ก็ย่อมหน่ายทั้งในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
วันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
มรณานุสติ
• การเจริญมรณานุสติมีอานิสงส์มาก
ถ้าเราตระหนักชัดในความไม่แน่นอนของชีวิตนี้แล้ว
ไม่มีทางที่เราจะไปทะเลาะกับใคร
หรือจะไปอิจฉาใคร หรือเบียดเบียนใคร
เพราะอะไร เพราะเวลาไม่พอ
• วันนี้อาจเป็นวันสุดท้ายของชีวิตเรา
เราควรใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ รักษาใจให้เป็นบุญ
ชีวิตเรามีค่า เพราะมันมีจำกัด ฯ
อ่านตามแล้วก็คิดได้ว่า
เราจะเอาความสุข(ที่ไม่จริง)ในชาตินี้ แต่ไม่รู้ว่าชาติหน้าจะเป็นอย่างไร จะได้เจอพระพุทธศาสนาไหม เจอแล้วจะมีโอกาสได้ศึกษาธรรมไหม ได้ศึกษาแล้วจะปฏิบัติไหม หรือจะทิ้งไปหากิเลสเหมือนเดิม
มันมากพอให้เรายอมแลกกับ 1 ชาติเลยหรือ?
หรือจะยอมทิ้งความสุข(ที่ไม่จริง)ในชาตินี้ แล้วมีสุคติอันแน่นอนเป็นที่ไป
เมื่อตัดสินใจได้แล้ว เราเหลือเวลาเท่าไหร่ก็ไม่ทราบได้ เพราะฉะนั้นก็ควรจะเพียรปฏิบัติ
"เพราะต้องการให้เป็นนิจจัง เที่ยงแท้ถาวร ยึดมั่นถือมั่น ชอบไปฝืนกฎธรรมชาติ เมื่อความจริงปรากฏจึงมีความทุกข์ต่าง ๆ นานา เป็นเพราะเราไม่ยอมรับความจริงตัวนี้นี่เอง ไปยึด ไปติด ไปหลง อยากให้สิ่งต่าง ๆ ที่เรารักอยู่กับเราตลอดไป ทั้ง ๆ ที่ไม่อาจฝืนกฏของความจริงที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนไม่เที่ยงแท้แน่นอนไม่ควรไปยึดติด ล้วนเป็นอนิจจัง ทุกสิ่งที่เรายึดติดล้วนเป็นสิ่งที่ให้ความทุกข์กับเราทั้งสิ้น"
ถ้าเราตระหนักชัดในความไม่แน่นอนของชีวิตนี้แล้ว
ไม่มีทางที่เราจะไปทะเลาะกับใคร
หรือจะไปอิจฉาใคร หรือเบียดเบียนใคร
เพราะอะไร เพราะเวลาไม่พอ
• วันนี้อาจเป็นวันสุดท้ายของชีวิตเรา
เราควรใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ รักษาใจให้เป็นบุญ
ชีวิตเรามีค่า เพราะมันมีจำกัด ฯ
- พระอาจารย์ชยสาโร -
อ่านตามแล้วก็คิดได้ว่า
เราจะเอาความสุข(ที่ไม่จริง)ในชาตินี้ แต่ไม่รู้ว่าชาติหน้าจะเป็นอย่างไร จะได้เจอพระพุทธศาสนาไหม เจอแล้วจะมีโอกาสได้ศึกษาธรรมไหม ได้ศึกษาแล้วจะปฏิบัติไหม หรือจะทิ้งไปหากิเลสเหมือนเดิม
มันมากพอให้เรายอมแลกกับ 1 ชาติเลยหรือ?
หรือจะยอมทิ้งความสุข(ที่ไม่จริง)ในชาตินี้ แล้วมีสุคติอันแน่นอนเป็นที่ไป
เมื่อตัดสินใจได้แล้ว เราเหลือเวลาเท่าไหร่ก็ไม่ทราบได้ เพราะฉะนั้นก็ควรจะเพียรปฏิบัติ
"เพราะต้องการให้เป็นนิจจัง เที่ยงแท้ถาวร ยึดมั่นถือมั่น ชอบไปฝืนกฎธรรมชาติ เมื่อความจริงปรากฏจึงมีความทุกข์ต่าง ๆ นานา เป็นเพราะเราไม่ยอมรับความจริงตัวนี้นี่เอง ไปยึด ไปติด ไปหลง อยากให้สิ่งต่าง ๆ ที่เรารักอยู่กับเราตลอดไป ทั้ง ๆ ที่ไม่อาจฝืนกฏของความจริงที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนไม่เที่ยงแท้แน่นอนไม่ควรไปยึดติด ล้วนเป็นอนิจจัง ทุกสิ่งที่เรายึดติดล้วนเป็นสิ่งที่ให้ความทุกข์กับเราทั้งสิ้น"
วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ตัณหา
ตัณหา
ตัณหา คือ สภาพธรรมที่ยินดี พอใจ ติดข้อง
ความทะยานอยากในรูปสัมผัสอันเกิดจากความกำหนัด ความหลงใหล ความติดใจในสิ่งที่ตนเคยสัมผัสจากทวารทั้ง 5 อันเป็นอิฏฐารมณ์ คือ เป็นสิ่งน่าใคร่ น่าปรารถนา
การหลงมัวเมา ตัณหาที่เกิดขึ้นในกามคุณทั้ง 5 นำมาสู่จิตนึกทบทวน นึกใคร่หลงในสัมผัสที่เกิดขึ้น ทำให้ทะยานอยากที่จะสัมผัส และรับรู้อีกต่อไปเป็นนิจ
เวทนา - อุปาทาน - ตัณหา
จิตเป็นผู้คิดให้ได้ดีมีสุขทุกข์ขึ้น ส่วนตัณหานั้นก็ให้เกิดเห็นตาม
...พอเสวยเวทนาอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ตาม เขาย่อมครุ่นคิดคํานึง ย่อมบ่นถึง ย่อมหมกใจอยู่กับเวทนานั้น
เพราะถ้ามีอุปาทาน ยึดมั่นนั่นเป็นเขา นี่เป็นเรา จึงเกิดเป็นตัณหา
แล้วก็เป็นปัจจัยให้มีภพ ชาติ ชรามรณะ, ความโศรก ความครํ่าครวญ ความทุกข์ ความเสียใจ ความคับแค้นผิดหวัง ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ทีนี้ บุคคลที่บอกว่ามีความสุข เพราะได้รับความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วยึดมั่นถือมั่นว่า นี่คือตัวตนของเรา ก็เข้าใจไปว่า ความสุขนี้คือของเรา
ถ้าความทุกข์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ของเรา ทำนองเดียวกัน ความสุขก็ไม่ใช่ของเรา
รูป จิต เจตสิก เป็นอนัตตา แล้วจะถือความสุขเป็นของเราได้อย่างไร
ทีนี้ ถ้าให้ตัด ตอนมีความสุขนี่ท่าจะยากอยู่เหมือนกัน
แล้วก็นึกไปถึงสมัยที่พระพุทธองค์เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ
ขณะที่ท่านตัดสินใจออกบวช น่าจะเป็นช่วงที่มีความสุขสุดๆของชีวิตคนเราเลย มีพร้อมทั้งทรัพย์สินเงินทอง มีภรรยาที่จงรักภักดี และลูกชายที่เพิ่งเกิด สมบูรณ์แบบ ตามที่สังคมปรารถนา
การที่ต้องตัดใจในช่วงเวลาแบบนี้มันยากมากๆ
ไม่ได้มีใครบังคับ แต่ออกบวชด้วยกำลังใจจากพระองค์เองล้วนๆ
ตัณหา คือ สภาพธรรมที่ยินดี พอใจ ติดข้อง
ความทะยานอยากในรูปสัมผัสอันเกิดจากความกำหนัด ความหลงใหล ความติดใจในสิ่งที่ตนเคยสัมผัสจากทวารทั้ง 5 อันเป็นอิฏฐารมณ์ คือ เป็นสิ่งน่าใคร่ น่าปรารถนา
การหลงมัวเมา ตัณหาที่เกิดขึ้นในกามคุณทั้ง 5 นำมาสู่จิตนึกทบทวน นึกใคร่หลงในสัมผัสที่เกิดขึ้น ทำให้ทะยานอยากที่จะสัมผัส และรับรู้อีกต่อไปเป็นนิจ
เวทนา - อุปาทาน - ตัณหา
จิตเป็นผู้คิดให้ได้ดีมีสุขทุกข์ขึ้น ส่วนตัณหานั้นก็ให้เกิดเห็นตาม
...พอเสวยเวทนาอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ตาม เขาย่อมครุ่นคิดคํานึง ย่อมบ่นถึง ย่อมหมกใจอยู่กับเวทนานั้น
เพราะถ้ามีอุปาทาน ยึดมั่นนั่นเป็นเขา นี่เป็นเรา จึงเกิดเป็นตัณหา
แล้วก็เป็นปัจจัยให้มีภพ ชาติ ชรามรณะ, ความโศรก ความครํ่าครวญ ความทุกข์ ความเสียใจ ความคับแค้นผิดหวัง ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
.....
ทีนี้ บุคคลที่บอกว่ามีความสุข เพราะได้รับความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วยึดมั่นถือมั่นว่า นี่คือตัวตนของเรา ก็เข้าใจไปว่า ความสุขนี้คือของเรา
ถ้าความทุกข์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ของเรา ทำนองเดียวกัน ความสุขก็ไม่ใช่ของเรา
รูป จิต เจตสิก เป็นอนัตตา แล้วจะถือความสุขเป็นของเราได้อย่างไร
ทีนี้ ถ้าให้ตัด ตอนมีความสุขนี่ท่าจะยากอยู่เหมือนกัน
แล้วก็นึกไปถึงสมัยที่พระพุทธองค์เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ
ขณะที่ท่านตัดสินใจออกบวช น่าจะเป็นช่วงที่มีความสุขสุดๆของชีวิตคนเราเลย มีพร้อมทั้งทรัพย์สินเงินทอง มีภรรยาที่จงรักภักดี และลูกชายที่เพิ่งเกิด สมบูรณ์แบบ ตามที่สังคมปรารถนา
การที่ต้องตัดใจในช่วงเวลาแบบนี้มันยากมากๆ
ไม่ได้มีใครบังคับ แต่ออกบวชด้วยกำลังใจจากพระองค์เองล้วนๆ
วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
คิริมานนทสูตร - วิมุตติ ๕
วันก่อนไปร้านหนังสือธรรมะ โชคดีที่ได้เจอหนังสือดีๆอีก...
อย่างหนังสือ ธรรมวิจารณ์ อ่านแล้วรู้สึกว่า ยังต้องศึกษาอีกมากเหมือนกัน
คิริมานนทสูตร
เรื่องที่มาของพระสูตรนี้ อันเป็นที่ถกเถียงกันก็ขอละไว้
เอาแต่เนื้อหาใจความที่น่าสนใจ ความว่า
สัญญา ๒ ประการ คือ รูปสัญญา๑ นามสัญญา๑
คือรูป ร่างกายตัวตนทั้งสิ้นก็ดี คือนาม ได้แก่จิตเจตสิกทั้งหลายก็ดี
ก็ให้ปลงธุระเสีย อย่าถือว่ารูปร่างกายจิตเจตสิกเป็นตัวตน
และอย่าเข้าใจว่าเป็นของของตน
ทุกสิ่งทุกอย่างความจริงเป็นของภายนอกสิ้นทั้งนั้น
ถ้าหากว่า รูปร่างกายเป็นตัวตนเราแท้
เมื่อล่วงสู่ความแก่เฒ่าชรา ตาฝ้า หูหนวก เนื้อหนังเหี่ยวแห้ง
ฟันโยกคลอน เจ็บปวด เหล่านั้น เราก็จักบังคับได้ตามประสงค์
ว่าอย่าเป็นอย่างนั้น อย่าเป็นอย่างนี้ นี่เราบังคับไม่ได้ตามประสงค์
เขาจะเจ็บ จะไข้ จะแก่ จะตาย เขาก็เป็นไปตามหน้าที่ของเขา
เราหมดอำนาจที่จะบังคับบัญชาได้ เมื่อตายเราจะพาเอาไปสักสิ่งสักอันก็ไม่ได้
ถ้าเป็นตัวตนของเราแล้ว เราก็คงจะพา เอาไปได้ตามความปรารถนา
ดูกรอานนท์ ถึงจิตเจตสิกก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของของตน
หากว่าจิตเจตสิกเป็นเรา หรือเป็นของของเรา เราก็จักบังคับได้ตามประสงค์
ว่า จิต ของเราจงเป็นอย่างนี้จงเป็นอย่างนั้น จงสุขสำราญทุกเมื่อ
อย่าทุกข์อย่าร้อนเลยดังนี้ ก็จะพึงได้ตามปรารถนา นี่หาเป็นเช่นนั้นไม่
เขาจะคิดอะไรเขาก็คิดไป เขาจะอยู่จะไปก็ตาม เรื่องของเขา
เพราะเหตุร่างกายจิตใจเป็นอนัตตา
ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของของตน ให้ปลงธุระเสีย
อย่าเข้าใจถือเอา ว่าเป็นตัวตนและของของตนเถิด.
และอีกตอนหนึ่ง
บุคคลทั้งหลายผู้ปรารถนาเข้าสู่พระนิพพาน
จงวางเสียซึ่งใจอย่าอาลัยความสุข
จึงจะได้ความสุขในพระนิพพาน ซึ่งเป็นความสุขอย่างยิ่ง อันหาส่วนเปรียบมิได้
เมื่อจะถือเอาความสุขในพระนิพพานแล้ว
ก็ให้วางใจในโลกีย์นี้เสียให้หมดสิ้น
อันว่าความสุขในโลกีย์ก็มีอยู่แต่ ในอินทรีย์ทั้ง ๖ นี้เท่านั้น
คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น เป็นกามคุณทั้ง ๕
ประสาททั้ง ๕ นี้เองเป็นผู้แต่งความสุขให้แก่จิต (ใจ)
ประสาทตานั้นเขาได้เห็นได้ดูรูป วัตถุสิ่งของอันดีงามต่างๆ ก็นำความสุขไปให้แก่จิต
ประสาทหูนั้นเมื่อเขาได้ยินได้ฟังศัพท์สำเนียง เสียงที่ไพเราะเป็นที่ชื่นชมทั้งปวง ก็นำความสุขสนุกสนานไปให้จิต
ผู้ที่จะนำตนไปมีสุขในพระนิพพาน
ต้องวางเสียซึ่งความสุขในโลกีย์
ถ้าวางไม่ได้ ก็ไม่ได้ความสุขในพระนิพพานเลย
ถ้าวางสุขในโลกีย์มิได้ ก็ไม่พ้นทุกข์ ด้วยความสุขในโลกีย์เป็นความสุขที่เจืออยู่ด้วยทุกข์
วิมุตติ ๕
1. ตทังควิมุตติ คือ ความหลุดพ้นชั่วคราว
หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสได้ชั่วคราว เช่น เกิดความเจ็บปวด หายจากความโลภ เกิดเมตตา หายโกรธ เป็นต้น แต่ความโลภ ความโกรธนั้นไม่หายทีเดียว อาจจะกลับมาอีก เป็นต้น
2. วิกขัมภนวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้วยการสะกดไว้
หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสได้ด้วยกำลังฌาน คือ สะกดไว้ได้ด้วยกำลังฌาน เมื่อฌานเสื่อมแล้ว กิเลสเกิดขึ้นได้อีก เช่น เมื่อนั่งสมาธิสามารถสะกดข่มกิเลสไว้ เมื่อออกจากสมาธิกิเลสก็กลับมาอีกครั้ง เป็นต้น
3. สมุจเฉทวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นเด็ดขาด
หมายถึง ความพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจอริยมรรค (มรรคมีองค์ 8) ละกิเลสได้อย่างเด็ดขาด ไม่เกิดกิเลสอีกต่อไป
4. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้วยความสงบ
หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลส เนื่องมาจากอริยมรรคอริยผลไม่ต้องขวนขวายเพื่อละกิเลสอีก
5. นิสสรณวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้วยสลัดออกไป
5. นิสสรณวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้วยสลัดออกไป
หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสนั้นได้อย่างยั่นยืนตลอดไป ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ได้แก่ นิพพาน
วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ขันธ์ ๕
พระพุทธเจ้าสอนให้เห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง...
เคยอ่านเรื่องขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่รอบนี้เห็นได้ชัดขึ้น
เหมือนกับว่า บางทีมันต้องเจอบททดสอบหน่อย จะได้รู้ตัว และจะได้มองออก ถ้าอยู่สบายๆ ก็คงไม่รู้ว่าตัวเองยังไม่ได้อะไรเลย
ตามความเข้าใจของเรา ราคะก็คงจะต้องแก้ด้วย อสุภะกรรมฐาน แต่พยายามแล้ว มันไม่หลุดแหะ
แต่มาหลุดได้จากตรงนี้
จิต คือผู้ไปรู้
อารมณ์ เป็นสิ่งที่ถูกรู้ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
ธรรมารมณ์ คือ เวทนา สัญญา สังขาร เป็นสิ่งที่ถูกรู้
ปกติแล้ว จิตหรือวิญญาณขันธ์ เมื่อไปรู้ ไม่ว่ารูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส หรือรู้เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณขันธ์ก็จะทำงานร่วมกับเวทนา สัญญา สังขารที่เรียกว่า เจตสิก ก็จะเป็นอารมณ์ที่ถูกรู้ทันที
แต่รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสนี่ยังไกล อารมณ์ที่ใกล้จิตที่สุด คือธรรมารมณ์ คือเวทนา สัญญา สังขาร
เมื่อไปรู้สิ่งใดแล้ว จะส่งต่อเวทนา ถูกใจ ไม่ถูกใจ หรือกลางๆ ส่งต่อสัญญา คือความจำได้หมายรู้ แล้วก็คิดนึก ปรุงแต่ง เป็นสังขาร
ถ้ามีอวิชชา ก็ยึดถือว่า นี่เป็นตัวตนของเรา นั่นเป็นตัวตนของเขา ยึดถือสังขาร (ขันธ์ 5) และยึดถือวิสังขาร (ใจหรือธาตุรู้)
ถ้าเราแยกจิตกับอารมณ์ได้ขาด ก็จะหลุดพ้นจากอารมณ์ทั้งมวลได้
เมื่ออ่านแล้วพิจารณาตาม ก็เห็นเป็นขั้นเป็นตอนแบบนี้จริงๆ ก็สลัดได้
เคยอ่านเรื่องขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่รอบนี้เห็นได้ชัดขึ้น
เหมือนกับว่า บางทีมันต้องเจอบททดสอบหน่อย จะได้รู้ตัว และจะได้มองออก ถ้าอยู่สบายๆ ก็คงไม่รู้ว่าตัวเองยังไม่ได้อะไรเลย
ตามความเข้าใจของเรา ราคะก็คงจะต้องแก้ด้วย อสุภะกรรมฐาน แต่พยายามแล้ว มันไม่หลุดแหะ
แต่มาหลุดได้จากตรงนี้
จิต คือผู้ไปรู้
อารมณ์ เป็นสิ่งที่ถูกรู้ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
ธรรมารมณ์ คือ เวทนา สัญญา สังขาร เป็นสิ่งที่ถูกรู้
ปกติแล้ว จิตหรือวิญญาณขันธ์ เมื่อไปรู้ ไม่ว่ารูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส หรือรู้เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณขันธ์ก็จะทำงานร่วมกับเวทนา สัญญา สังขารที่เรียกว่า เจตสิก ก็จะเป็นอารมณ์ที่ถูกรู้ทันที
แต่รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสนี่ยังไกล อารมณ์ที่ใกล้จิตที่สุด คือธรรมารมณ์ คือเวทนา สัญญา สังขาร
เมื่อไปรู้สิ่งใดแล้ว จะส่งต่อเวทนา ถูกใจ ไม่ถูกใจ หรือกลางๆ ส่งต่อสัญญา คือความจำได้หมายรู้ แล้วก็คิดนึก ปรุงแต่ง เป็นสังขาร
ถ้ามีอวิชชา ก็ยึดถือว่า นี่เป็นตัวตนของเรา นั่นเป็นตัวตนของเขา ยึดถือสังขาร (ขันธ์ 5) และยึดถือวิสังขาร (ใจหรือธาตุรู้)
ถ้าเราแยกจิตกับอารมณ์ได้ขาด ก็จะหลุดพ้นจากอารมณ์ทั้งมวลได้
เมื่ออ่านแล้วพิจารณาตาม ก็เห็นเป็นขั้นเป็นตอนแบบนี้จริงๆ ก็สลัดได้
วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560
เจอสิ่งที่ทำให้ไม่ชอบใจอยู่เสมอ
" คิดว่าใครจะมาพูดจาให้เราขุ่นเคืองไม่ได้ เราวิเศษกว่าคนอื่น ทั้งที่ความจริงแล้ว เราก็แค่คนธรรมดา
แม้แต่พระพุทธเจ้าเมื่อยังมีพระขันธ์อยู่ ก็ยังไม่พ้นไปจากเรื่องนี้ พระองค์ก็ไม่ยินดียินร้ายเลย "
ลืมไปว่า เกิดมาต้องประสบกับสิ่งชอบใจ ไม่ชอบใจเป็นธรรมดา...
แม้แต่พระพุทธเจ้าเมื่อยังมีพระขันธ์อยู่ ก็ยังไม่พ้นไปจากเรื่องนี้ พระองค์ก็ไม่ยินดียินร้ายเลย "
ลืมไปว่า เกิดมาต้องประสบกับสิ่งชอบใจ ไม่ชอบใจเป็นธรรมดา...
มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ
พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้
เต (ตา) มะยัง โอติณณามหะ
พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ
โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย
ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย
อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ
อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ
ทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้, จะพึงปรากฏชัดแก่เราได้
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง, ยะถาสะติ, ยะถาพะลัง
มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ
จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตามสติกำลัง
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ
จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ
วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560
วิปัสสนาปัญญา
ธมฺมาสภาวปฏิเวธลกฺขณา
ปัญญาที่มีลักษณะให้ตรัสรู้ซึ่งสภาวะปกติแห่งรูปธรรมทั้งปวง
อธิบายว่า อาการไม่เที่ยงไม่แท้กอปรด้วยทุกข์ ที่ไม่เป็นแก่นสารใช่ตนใช่ของตน นี่แลเป็นสภาวะปกติแห่งรูปธรรมแลนามธรรม
ขึ้นชื่อว่าเกิดมาเป็นรูปธรรมนามธรรมแล้ว ก็มีแต่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ปราศจากแก่นสารนั้น เป็นปกติธรรมดา
เมื่อนามแลรูปเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่โดยสภาวะปกติดังนี้ วิปัสสนาปัญญานั้นจะให้รู้วิปริตคือ จะให้รู้ว่าเที่ยงเป็นสุขเป็นแก่นสาร เป็นตนเป็นของตนนั้นหามิได้
วิปัสสนานั้นให้รู้ให้เห็นแจ่มแจ้งว่า รูปธรรมนามธรรมนี้เป็นอนิจจังไม่เที่ยงไม่แท้โดยปกติธรรมดา กอปรด้วยทุกข์ต่างๆโดยปกติธรรมดา เป็นอนัตตาใช่ตัวตน ใช่ของแห่งตนโดยปกติธรรมดา
เพราะวิปัสสนาปัญญานั้นรู้แจ้งรู้ชัดฉะนี้ จึงกล่าววิสัชนาว่า กิริยาที่ให้ตรัสรู้ซึ่งสภาวะปกติเห็นรูปธรรมนี้แลเป็นลักษณะแห่งวิปัสสนาปัญญา
- คัดลอกจาก พระวิสุทธิมรรค
เวลามสูตร
- ทานที่บุคคล ถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวาย ให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค
- การที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากจาตุรทิศ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข บริโภค
- การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์อันมาจากจาตุรทิศ
- การที่ บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ จากการดื่ม น้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท มีผลมากกว่าการที่บุคคล มีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
- การที่บุคคลเจริญ เมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิต เลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ
- การที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือ มีผลมากกว่าการที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม ฯ
- ทานที่บุคคล ถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวาย ให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค
- การที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากจาตุรทิศ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข บริโภค
- การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์อันมาจากจาตุรทิศ
- การที่ บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ จากการดื่ม น้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท มีผลมากกว่าการที่บุคคล มีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
- การที่บุคคลเจริญ เมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิต เลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ
- การที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือ มีผลมากกว่าการที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม ฯ
อาทิตตปริยายสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน, ก็อะไรเล่าชื่อว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของร้อน รูปทั้งหลายเป็นของร้อน
วิญญาณอาศัยจักษุเป็นของร้อน สัมผัสอาศัยจักษุเป็นของร้อน
ความเสวยอารมณ์เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยแม้นั้นก็เป็นของร้อน
ร้อนเพราะอะไร? เรากล่าวว่า
ร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ
ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่ และความตาย
ร้อนเพราะความโศก เพราะความรำพัน เพราะทุกข์กาย เพราะทุกข์ใจ เพราะความคับแค้น.
โสตเป็นของร้อน เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน ...
ฆานะเป็นของร้อน กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน ...
ชิวหาเป็นของร้อน รสทั้งหลายเป็นของร้อน ...
กายเป็นของร้อน โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นของร้อน ...
มนะเป็นของร้อน ธรรมทั้งหลายเป็นของร้อน ...
ความเสวยอารมณ์เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยแม้นั้นก็เป็นของร้อน ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้วเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณอาศัยจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัมผัสอาศัยจักษุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์ มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสต ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียงทั้งหลาย ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่นทั้งหลาย ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสทั้งหลาย ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะทั้งหลาย ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมทั้งหลาย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณอาศัยมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัมผัสอาศัยมนะ ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย.
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว
อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี.
ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปนั้น พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
จริงๆได้เคยหาอ่านศึกษาเรื่องยันต์มาบ้าง เห็นว่ายันต์และอักษรขอมนั้นสวยดี อิ สวา สุ นะ มะ อะ อุ นะ โม พุ ทธา ยะ นะ ม...
-
พระเจ้าโกรัพยะประทับนั่งแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระรัฐปาละว่า ท่านรัฐปาละผู้เจริญ ความเสื่อม ๔ ประการนี้ คือ ความเสื่อมเพราะชรา ๑ ความเสื่อมเพรา...
-
จากวันนี้ที่ได้ไปกราบสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่วัดบวรนิเวศวิหาร และได้ทำบุญ ก็ได้รับเหรียญพระไพรีพินาศมา ...