ตัณหา คือ สภาพธรรมที่ยินดี พอใจ ติดข้อง
ความทะยานอยากในรูปสัมผัสอันเกิดจากความกำหนัด ความหลงใหล ความติดใจในสิ่งที่ตนเคยสัมผัสจากทวารทั้ง 5 อันเป็นอิฏฐารมณ์ คือ เป็นสิ่งน่าใคร่ น่าปรารถนา
การหลงมัวเมา ตัณหาที่เกิดขึ้นในกามคุณทั้ง 5 นำมาสู่จิตนึกทบทวน นึกใคร่หลงในสัมผัสที่เกิดขึ้น ทำให้ทะยานอยากที่จะสัมผัส และรับรู้อีกต่อไปเป็นนิจ
เวทนา - อุปาทาน - ตัณหา
จิตเป็นผู้คิดให้ได้ดีมีสุขทุกข์ขึ้น ส่วนตัณหานั้นก็ให้เกิดเห็นตาม
...พอเสวยเวทนาอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ตาม เขาย่อมครุ่นคิดคํานึง ย่อมบ่นถึง ย่อมหมกใจอยู่กับเวทนานั้น
เพราะถ้ามีอุปาทาน ยึดมั่นนั่นเป็นเขา นี่เป็นเรา จึงเกิดเป็นตัณหา
แล้วก็เป็นปัจจัยให้มีภพ ชาติ ชรามรณะ, ความโศรก ความครํ่าครวญ ความทุกข์ ความเสียใจ ความคับแค้นผิดหวัง ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
.....
ทีนี้ บุคคลที่บอกว่ามีความสุข เพราะได้รับความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วยึดมั่นถือมั่นว่า นี่คือตัวตนของเรา ก็เข้าใจไปว่า ความสุขนี้คือของเรา
ถ้าความทุกข์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ของเรา ทำนองเดียวกัน ความสุขก็ไม่ใช่ของเรา
รูป จิต เจตสิก เป็นอนัตตา แล้วจะถือความสุขเป็นของเราได้อย่างไร
ทีนี้ ถ้าให้ตัด ตอนมีความสุขนี่ท่าจะยากอยู่เหมือนกัน
แล้วก็นึกไปถึงสมัยที่พระพุทธองค์เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ
ขณะที่ท่านตัดสินใจออกบวช น่าจะเป็นช่วงที่มีความสุขสุดๆของชีวิตคนเราเลย มีพร้อมทั้งทรัพย์สินเงินทอง มีภรรยาที่จงรักภักดี และลูกชายที่เพิ่งเกิด สมบูรณ์แบบ ตามที่สังคมปรารถนา
การที่ต้องตัดใจในช่วงเวลาแบบนี้มันยากมากๆ
ไม่ได้มีใครบังคับ แต่ออกบวชด้วยกำลังใจจากพระองค์เองล้วนๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น