- ความไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ไม่ทราบ,ไม่รู้ธรรมชาติของทุกข์ คือ ไม่รู้กระบวนธรรมการเกิดขึ้น และการดับไปแห่งทุกข์ คือ ไม่รู้ในธรรมข้อที่ว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมปรุงแต่งกัน อาศัยกันและกันจึงเกิดขึ้นได้ตามหลักอิทัปปัจจยตา เมื่อกําจัดเหตุปัจจัยบางประการเสียได้ ย่อมทําให้ธรรมนั้นไม่ครบองค์หรือขาดสมดุลย์ที่จะประชุมปรุงแต่งกันขึ้นมาได้ อุปาทานทุกข์หรือธรรมนั้นๆก็ย่อมไม่สามารถบังเกิดขึ้นได้ (เป็นการปฏิบัติในขั้นปัญญา)
- เนื่องจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจจึงหยุดวงจรแห่งทุกข์นั้นไม่ได้, และเหล่าอาสวะกิเลสเหล่านี้จะหมักหมม นอนเนื่องอยู่ในจิต ตามปกติจะมองไม่เห็นเช่น โกรธเกลียดใครอยู่คนหนึ่ง และไม่พบกันเป็นเวลานานๆ เมื่อกาลเวลาผ่านไปเป็นเวลาหลายปีเมื่อมาเจอกันอีก อาสวะกิเลส(อุปายาส-ความขุ่นข้อง คับแค้นใจ)ที่นอนเนื่องสงบอยู่ จนไม่เคยคิดว่ายังมีอยู่ จะเกิดขึ้นทันที [สัญญาสินะ]
- เพราะอวิชชาคือไม่รู้ในรูปที่ตาเห็นนั้น
จึงได้ยึดถือแล้วก็ปรุงแต่งรูปนั้น ว่านี่สวยนี่งาม นี่ไม่สวยนี่ไม่งาม
นี่เป็นสังขารคือปรุงแต่ง กิเลสก็เกิดขึ้นจับทันที ราคะความติดความยินดี โลภะความโลภอยากได้ก็บังเกิด หรือว่าโทสะปฏิฆะความหงุดหงิดกระทบกระทั่งขัดเคือง
อันที่จริงนั้นเมื่อคนเห็นอะไรทางตา รูปที่ตาเห็นนั้นก็เกิดดับไปทันทีในขณะนั้น แล้วรูปอื่น เห็นรูปอื่นขึ้นอีกก็เกิดดับไปทันทีในขณะนั้น แต่คราวนี้ยังไม่ดับอยู่ในใจ เพราะว่าจิตใจนี้ยังมีอวิชชาคือไม่รู้ว่านี่คือตัวทุกข์ เป็นตัวสังขาร เป็นสิ่งที่เกิดดับ เมื่อเป็นดั่งนี้จึงยึดถือ ยึดถือเอารูปนั้นมาตั้งอยู่ในใจ
.......
- มีสติรู้เท่าทันจิต หรือจิตสังขารที่เกิดขึ้นแล้ว อันคือจิตตานุปัสสนาในสติปัฏฐานอันได้แก่ ความคิดนึกปรุงแต่งมักมีกิเลสตัณหาแฝงมากับเวทนาด้วยอย่างไม่รู้ตัว ซึ่งมักแอบแฝงมาในรูปความคิดเห็นต่างๆอันย่อมมีเวทนาเกิดขึ้นแต่ไม่แสดงอย่างชัดเจนว่าเกิดกิเลสตัณหา
คัดลอกจาก
www.nkgen.comwww.dhamma-gateway.com
.......
- เหตุแห่งทุกข์นั้นยังมีอยู่ แต่ไม่มีผู้รับผลทุกข์นั้น
(ทุกฺขเมว หิ น โกจิ ทุกฺขิโต การโก น, กิริยา วิชฺชติ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น