วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ภาวนาสูตร


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่หมั่นเจริญภาวนา แม้จะพึงเกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร จะพึงกล่าวได้ว่า เพราะไม่ได้เจริญ เพราะไม่ได้เจริญอะไร เพราะไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนา แม้จะไม่พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นย่อมหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร พึงกล่าวได้ว่า เพราะเจริญ เพราะเจริญอะไร เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ 



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่ แม้จะไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้ เมื่อวานสิ้นไปเท่านี้ หรือเมื่อวานซืนสิ้นไปเท่านี้ แต่ที่จริง เมื่ออาสวะสิ้นไป ภิกษุนั้นก็รู้ว่าสิ้นไปนั่นเทียว



เปรียบเหมือนเรือเดินสมุทรที่เขาผูกหวาย ขันชะเนาะแล้วแล่นไปในน้ำตลอด ๖ เดือน ถึงฤดูหนาว เข็นขึ้นบก เครื่องผูกประจำเรือตากลมและแดดไว้ เครื่องผูกเหล่านั้นถูกฝนชะ ย่อมชำรุดเสียหาย เป็นของเปื่อยไปโดยไม่ยาก ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่ สังโยชน์ย่อมสงบระงับไปโดยไม่ยาก ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

(คัดย่อ)
แอบจุก แฮะๆๆ

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อัคคิขันธูปมสูตร

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ กับการเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาว คฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน ฯ

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอด พระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอันอ่อนนุ่ม นี้ประเสริฐกว่า ส่วนการที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ เป็นทุกข์ ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอ ทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติสกปรกน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำหนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี จะประเสริฐอย่างไร การเข้าไปนั่งกอดนอนกอดกองไฟใหญ่โน้นที่กำลังลุกรุ่งโรจน์ โชติช่วงอยู่ นี้ดีกว่า

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ ปางตาย เพราะการเข้าไปกอดกองไฟใหญ่นั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการเข้าไปกอดกองไฟใหญ่นั้น เป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก มีความประพฤติสกปรก น่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำหนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาว พราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่มนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อ ความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานแก่เขา และผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

(ความย่อ)

ผู้ทุศีลนั้น    ไปกอดกองไฟกองใหญ่ที่ลุกโชติช่วงนั้น
ยังดีกว่า      ไปกอดธิดา หรือบุตรสาวพราหมณ์

ผู้ทุศีลนั้น          ไปโดนเชือกหนังอันเหนียว    พันแข้งทั้งสองข้างแล้วชักไปมาจนเชือกหนัง นั้นบาดผิว บาดเนื้อ  ตัดเอ็น  ตัดกระดูก ไปจนถึงเยื่อในกระดูก
ยังดีเสียกว่า       ให้กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดีมากราบไหว้

ผู้ทุศีลนั้น          ไปโดนบุรุษที่มีกำลังเอาหอกอันคม ที่ชโลมน้ำมันพุ่งใส่กลางอก
ยังดีเสียกว่า       ให้กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดีมากราบอัญชลี

ผู้ทุศีลนั้น          ไปโดนบุรุษที่มีกำลัง นำเอาแผ่นเหล็กแดง มีไฟกำลัง ลุกโชติช่วงนาบ กายตัว
ยังดีเสียกว่า      ได้ใช้จีวรที่เขาถวายด้วยความศรัทธา

ผู้ทุศีลนั้น          ไปโดนบุรุษที่มีกำลัง นำตะขอเหล็กแดงง้างปากให้อ้าไว้ กรอกด้วยก้อนเหล็กแดงเข้าไปในปาก   ก้อนเหล็กแดงที่เข้าไปในปากนั้น จะไหม้ริมฝีปาก ไหม้ปาก ไหม้ลิ้น ไหม้คอ ไหม้อก ไหม้เรื่อยไปจนถึง ลำไส้ใหญ่ แล้วออกทางทวาร
ยังดีเสียกว่า     บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธานั้น

ผู้ทุศีลนั้น          ไปโดนบุรุษที่มีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วให้นั่งทับ นอนทับ บนเตียงเหล็กหรือตั่งเหล็กแดงที่มีไฟกำลังลุกโชติช่วง
ยังดีเสียกว่า      ไปใช้เตียงตั่งที่เขาถวาย ด้วยศรัทธา

ผู้ทุศีลนั้น          ไปโดนบุรุษที่มีกำลัง  จับมัดเอาเท้าขึ้นเอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดง ที่มีไฟกำลังลุกโชติช่วง ผู้นั้นถูกไฟเผาเดือด  ลอยไปลอยมา   บางครั้ง  ลอยขึ้นข้างบน บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปทางขวาง
ยังดีเสียกว่า       เข้าไปใช้วิหารที่เขาถวายด้วยความศรัทธา

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว และเมื่อกำลังตรัส ไวยากรณภาษิตนี้อยู่ โลหิตร้อนพุ่งออกจากปากของภิกษุ ๖๐ รูป (พวกต้น) ภิกษุ ๖๐ รูป (พวกกลาง) ลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ด้วยกราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้ยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้ แสนยาก อีก ๖๐ รูป จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ฯ

ส่วนหนึ่งคัดลอกจาก
www.tong9.con

ปฏิจจสมุปบาท



  • ความไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ไม่ทราบ,ไม่รู้ธรรมชาติของทุกข์ คือ ไม่รู้กระบวนธรรมการเกิดขึ้น และการดับไปแห่งทุกข์ คือ ไม่รู้ในธรรมข้อที่ว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมปรุงแต่งกัน อาศัยกันและกันจึงเกิดขึ้นได้ตามหลักอิทัปปัจจยตา  เมื่อกําจัดเหตุปัจจัยบางประการเสียได้ ย่อมทําให้ธรรมนั้นไม่ครบองค์หรือขาดสมดุลย์ที่จะประชุมปรุงแต่งกันขึ้นมาได้   อุปาทานทุกข์หรือธรรมนั้นๆก็ย่อมไม่สามารถบังเกิดขึ้นได้  (เป็นการปฏิบัติในขั้นปัญญา)



  • เนื่องจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจจึงหยุดวงจรแห่งทุกข์นั้นไม่ได้,  และเหล่าอาสวะกิเลสเหล่านี้จะหมักหมม นอนเนื่องอยู่ในจิต ตามปกติจะมองไม่เห็นเช่น โกรธเกลียดใครอยู่คนหนึ่ง และไม่พบกันเป็นเวลานานๆ  เมื่อกาลเวลาผ่านไปเป็นเวลาหลายปีเมื่อมาเจอกันอีก อาสวะกิเลส(อุปายาส-ความขุ่นข้อง คับแค้นใจ)ที่นอนเนื่องสงบอยู่ จนไม่เคยคิดว่ายังมีอยู่  จะเกิดขึ้นทันที [สัญญาสินะ]


  • เพราะอวิชชาคือไม่รู้ในรูปที่ตาเห็นนั้น จึงได้ยึดถือแล้วก็ปรุงแต่งรูปนั้น ว่านี่สวยนี่งาม นี่ไม่สวยนี่ไม่งาม นี่เป็นสังขารคือปรุงแต่ง กิเลสก็เกิดขึ้นจับทันที ราคะความติดความยินดี โลภะความโลภอยากได้ก็บังเกิด หรือว่าโทสะปฏิฆะความหงุดหงิดกระทบกระทั่งขัดเคือง
    อันที่จริงนั้นเมื่อคนเห็นอะไรทางตา รูปที่ตาเห็นนั้นก็เกิดดับไปทันทีในขณะนั้น แล้วรูปอื่น เห็นรูปอื่นขึ้นอีกก็เกิดดับไปทันทีในขณะนั้น แต่คราวนี้ยังไม่ดับอยู่ในใจ เพราะว่าจิตใจนี้ยังมีอวิชชาคือไม่รู้ว่านี่คือตัวทุกข์ เป็นตัวสังขาร เป็นสิ่งที่เกิดดับ เมื่อเป็นดั่งนี้จึงยึดถือ ยึดถือเอารูปนั้นมาตั้งอยู่ในใจ
.......


  • มีสติรู้เท่าทันจิต หรือจิตสังขารที่เกิดขึ้นแล้ว อันคือจิตตานุปัสสนาในสติปัฏฐานอันได้แก่ ความคิดนึกปรุงแต่งมักมีกิเลสตัณหาแฝงมากับเวทนาด้วยอย่างไม่รู้ตัว  ซึ่งมักแอบแฝงมาในรูปความคิดเห็นต่างๆอันย่อมมีเวทนาเกิดขึ้นแต่ไม่แสดงอย่างชัดเจนว่าเกิดกิเลสตัณหา

คัดลอกจาก
www.nkgen.comwww.dhamma-gateway.com
.......
  • เหตุแห่งทุกข์นั้นยังมีอยู่  แต่ไม่มีผู้รับผลทุกข์นั้น
    (ทุกฺขเมว หิ น โกจิ ทุกฺขิโต การโก น, กิริยา วิชฺชติ)

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พบอาจารย์ #2

ได้พบพระอาจารย์ที่แนวสนทนาถูกจริตมากๆ ที่ศูนย์ปฏิบัติธรรม
สนทนาร่วมชั่วโมงได้ แต่ขอจดบันทึกประเด็นสำคัญไว้ดังนี้


  • เมื่อมีความเห็นผิดอยู่ แม้จะปรารถนาพระนิพพาน ก็ไม่สามารถเข้าถึงได้ จิตจะรู้ว่าไม่ใช่จังหวะที่ตายนั่นเอง
  • บุคคลที่เป็นอรหันต์ จะไม่เกิดอีก เพราะไม่มีวิบาก (กิริยาจิต) ดังนั้น โลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น ให้มีสติรู้ แต่ไม่ต้องไปรับให้กลายเป็นกิเลส กลายเป็นการสร้างเหตุใหม่ (เพราะทำด้วยวิถีจิต) สิ่งที่เกิดขึ้นกับเราทั้งจากกุศลหรืออกุศลก็ให้จบไป
  • เมื่ออยู่ในช่วงอทุกขมสุข ก็ต้องรู้ และพิจารณาถึงความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เพราะตัวนี้เป็นโมหะ คือความหลง
  • การละอนุสัย ให้ละตัวตนออกไป

ธัมมุทเทส 4

พระเจ้าโกรัพยะประทับนั่งแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระรัฐปาละว่า

ท่านรัฐปาละผู้เจริญ ความเสื่อม ๔ ประการนี้ คือ ความเสื่อมเพราะชรา ๑ ความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้ ๑ ความเสื่อมจากโภคสมบัติ ๑ ความเสื่อมจากญาติ ๑ คนบางพวกในโลกนี้เมื่อประสพความเสื่อมเหล่านี้แล้ว ย่อมปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

ท่านรัฐปาละ ความเสื่อม ๔ ประการนี้ ที่คนบางพวกในโลกนี้ถึงเข้าแล้ว จึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต  ท่านรัฐปาละไม่ได้มีความเสื่อมเหล่านั้นเลย

ท่านรัฐปาละรู้เห็นหรือได้ฟังอะไร จึงออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตเสียเล่า?

ท่านพระรัฐปาละถวายพระพรว่า มีอยู่แล มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงแสดงธัมมุทเทส ๔ ข้อ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

ธัมมุทเทส ๔ ข้อเป็นไฉน? คือ

๑. โลกอันชรานำเข้าไปไม่ยั่งยืน

๒. โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน

๓. โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป

๔. โลกบกพร่องอยู่เป็นนิตย์ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา

ดูกรมหาบพิตร ธัมมุทเทส ๔ ข้อนี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

คัดลอกจาก:
www.dhamma-gateway.com

ความเศร้าหมอง

เริ่มจากหลายวันก่อนนั้น เกิดอาการน้อยเนื้อต่ำใจ (เรื่องงาน-จากการเปรียบเทียบตัวเองกับเพื่อนร่วมงาน) จริงๆก็ฉุกคิดได้นะว่า นี่คืออารมณ์เศร้าหมอง แต่ต้องทำยังไง
ก็ได้พบในบทความของหลวงพ่อปราโมช ปาโมชฺโช อย่างนี้ว่า

"ไม่ใช่ให้เห็นว่าเราเศร้าหมอง ให้เห็นว่าความเศร้าหมองนั้นไม่ใช่เรา จิตอันหนึ่ง ความเศร้าหมองอีกอันหนึ่ง ความเศร้าหมองเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ความเศร้าหมองไม่ใช่ตัวเรา ความเศร้าหมองมันไม่ใช่จิตด้วย"

อ่านเพียงเท่านี้ ความเศร้าหมองก็หลุดไป
กลายเป็นความว่าง

แล้วติดอะไรอยู่หนอ เท่าไหนคือนิพพาน
ก็ได้พบบทความของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล อย่างนี้ว่า

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย   บุคคลอาศัยจักษุและรูป เกิดจักษุวิญญาณ  ความประจวบกันของธรรมทั้ง๓เป็นผัสสะ  และเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์(เวทนา เป็นสุขบ้าง  เป็นทุกข์บ้าง  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง)

เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมไม่เพลิดเพลิน  ไม่พูดถึง  ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ  จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่

อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมไม่เศร้าโศก  ไม่ลำบาก  ไม่ร่ำไห้  ไม่คร่ำครวญทุ่มอก  ไม่ถึงความหลงพร้อม  จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่

อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น  ความดับไป  คุณ  โทษ  และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง  จึงไม่มีอวิชชานุสัย  นอนเนื่องอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาบรรเทา,  ละปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา,  ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา,  ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้  แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้  นั่นเป็นฐานะที่มีได้ฯ"

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เข้าใจแล้ว!

เอ้อ จริงๆแล้วมันก็อยู่ในที่บันทึกๆมานี่ล่ะ
พอกลับมาอ่านอีกที รู้สึกว่ามันลึกไปอีกขั้น

ว่าคำสอนสุดท้าย
ไม่ว่าจะพิจารณาจากสติปัฏฐาน ไตรลักษณ์ โทษของกาม
ก็เพื่อให้เห็นว่า มันไม่ใช่เรา เท่านี้เอง
จะเรียกว่า ตัดขันธ์ 5 ก็ถูกนะ รูปไม่ใช่เรา เวทนาไม่ใช่เรา
จะรู้จากสติปัฏฐานก็ได้แบบนี้
จะรู้จากไตรลักษณ์ก็ได้แบบนี้

สุดท้ายการตัดอวิชชา ก็รู้ได้ด้วยการ"เห็นตามความเป็นจริง"

.....

คำสอนหลวงปู่ดุลย์ อตุโล

  • ที่จริงพระอรหันต์ทั้งหลายท่านไม่ได้รู้อะไรมากมายเลย เพียงแต่เจริญจิตให้รู้แจ้งใน ขันธ์๕,  แทงตลอดในปฏิจจสมุปบาท, หยุดการปรุงแต่ง
  • จิตนั้นจะยกสภาวะธรรมขึ้นมาพิจารณาไตร่ตรองให้เกิดวิปัสสนาญาณ เกิดปัญญาแล้ว ปัญญานั้นก็จะแจ่มแจ้งดีกว่าจิตที่ไม่มีสมาธิ

ปฐมอวิชชาสูตร และอวิชชาปหานสูตร

  • ดูก่อนภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่จักษุโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งรูป ทั้งหลาย ฯลฯ ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น.
  • อนิจฺจโต ชานโต ความว่า อวิชชา เธอย่อมละได้ด้วย สามารถแห่งอนิจจลักขณะ และ อนัตตลักขณะนั่นเอง.

บทความที่ได้รับความนิยม

คลังบทความของบล็อก