พระองค์ทรงสอนให้พิจารณาธรรมทั้งหลาย ที่กายที่ใจของเรา ธรรมะไม่ได้อยู่ไกลที่ไหน อยู่ที่ตรงนี้ อยู่ที่กายที่ใจของเรานี่แหละ
ให้รู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา ให้เห็นการเกิดดับของกายและใจ แต่อย่าให้มันมาทำใจให้วุ่นวาย เกิดขึ้นก็ปล่อยไป อย่าเก็บไว้
พอเข้าใจได้ชัด ทีนี้ก็จะปล่อยอะไรๆ ได้ทั้งหมด ก็ไม่ใช่ว่าความคิดความรู้สึกมันจะหายไป มันก็ยังอยู่นั่นแหละ แต่มันหมดอำนาจเสีย
รูปก็เป็นสักแต่ว่ารูป เสียงก็สักแต่ว่าเสียง กลิ่นก็สักแต่ว่ากลิ่น รสก็สักแต่ว่ารส โผฎฐัพพะก็สักแต่ว่าโผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ก็สักแต่ว่าธรรมารมณ์ ใจก็สักว่าใจ ความคิดก็สักว่าความคิด เปรียบเหมือนน้ำมันกับน้ำ ถ้าเราเอาทั้งสองอย่างนี้เทใส่ขวดเดียวกัน มันก็ไม่ปนกัน
("ภาษาธรรม" เมื่อเอามาคิดเป็นภาษาโลกมันก็เลยยุ่ง แล้วก็ตีความหมายว่าอย่างนั้นอย่างนี้)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
จริงๆได้เคยหาอ่านศึกษาเรื่องยันต์มาบ้าง เห็นว่ายันต์และอักษรขอมนั้นสวยดี อิ สวา สุ นะ มะ อะ อุ นะ โม พุ ทธา ยะ นะ ม...
-
พระเจ้าโกรัพยะประทับนั่งแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระรัฐปาละว่า ท่านรัฐปาละผู้เจริญ ความเสื่อม ๔ ประการนี้ คือ ความเสื่อมเพราะชรา ๑ ความเสื่อมเพรา...
-
จากวันนี้ที่ได้ไปกราบสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่วัดบวรนิเวศวิหาร และได้ทำบุญ ก็ได้รับเหรียญพระไพรีพินาศมา ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น