...สัจจวิภังคสูตร...
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ได้ประกาศธรรมจักรอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อันสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก ยังไม่เคยประกาศ ได้แก่ อริยสัจ ๔ คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ...
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน คือ ชาติก็เป็นทุกข์ ชราก็เป็นทุกข์ มรณะก็เป็นทุกข์ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส ก็เป็นทุกข์ ความไม่ได้สมปรารถนาก็เป็นทุกข์ โดยประมวลแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ฯ
ก็ชาติเป็นไฉน ได้แก่ ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้เฉพาะซึ่งอายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายนั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ
ก็ชราเป็นไฉน ได้แก่ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความเป็นผู้มีฟันหัก มีผมหงอก มีหนังย่น ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายนั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ฯ
ก็มรณะเป็นไฉน ได้แก่ ความจุติ ความเคลื่อนไป ความแตก ความอันตรธาน ความตาย ความมรณะ การทำกาละ ความสลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่าง ความขาดชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์
นั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายนั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ฯ
ก็โสกะเป็นไฉน ได้แก่ ความโศก ความเศร้า ความเหี่ยวแห้งใจ ความเหี่ยวแห้งภายใน ความเหี่ยวแห้งรอบในภายใน ของบุคคลผู้ประจวบกับความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว นี้เรียกว่าโสกะ ฯ
ก็ปริเทวะเป็นไฉน ได้แก่ ความรำพัน ความร่ำไร กิริยารำพัน กิริยาร่ำไร ลักษณะที่รำพัน ลักษณะที่ร่ำไร ของบุคคลที่ประจวบกับความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว นี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ
ก็ทุกขะเป็นไฉน ได้แก่ ความลำบากกาย ความไม่สบายกาย ความเสวยอารมณ์ที่ลำบาก ที่ไม่สบาย อันเกิดแต่สัมผัสทางกาย นี้เรียกว่าทุกขะ ฯ
ก็โทมนัสเป็นไฉน ได้แก่ ความลำบากใจ ความไม่สบายใจ ความเสวยอารมณ์ที่ลำบาก ที่ไม่สบาย อันเกิดแต่สัมผัสทางใจ นี้เรียกว่าโทมนัส ฯ
ก็อุปายาสเป็นไฉน ได้แก่ ความคับใจ ความแค้นใจ ลักษณะที่คับใจ ลักษณะที่แค้นใจ ของบุคคลผู้ประจวบกับความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว นี้เรียกว่า
อุปายาส ฯ
ก็ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์เป็นไฉน ได้แก่
- สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องเกิดเป็นธรรมดา และความเกิดอย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใครๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่า ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์
- สัตว์ทั้งหลายผู้มีความแก่เป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องแก่เป็นธรรมดา และความแก่อย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใครๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่าความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์
- สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องเจ็บไข้เป็นธรรมดา และความเจ็บไข้อย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใครๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่า ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์
- สัตว์ทั้งหลายผู้มีความตายเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องตายเป็นธรรมดา และความตายอย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใครๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่า ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์
- สัตว์ทั้งหลายผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องมีโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดา และโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาสอย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใครๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่า ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์ ฯ
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็โดยประมวลแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์เป็นไฉน คืออย่างนี้ อุปาทานขันธ์คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่า โดยประมวลแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ฯ
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน ได้แก่ ตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ได้แก่ ความดับด้วยอำนาจคลายกำหนัดไม่มีส่วนเหลือ ความสละ ความสลัดคืน ความปล่อย ความไม่มีอาลัย ซึ่งตัณหานั้นนั่นแล นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐนี้แล ซึ่งมีดังนี้ (๑) สัมมาทิฐิ (๒) สัมมาสังกัปปะ (๓) สัมมาวาจา (๔) สัมมากัมมันตะ (๕) สัมมาอาชีวะ (๖) สัมมาวายามะ (๗) สัมมาสติ (๘) สัมมาสมาธิ ฯ
ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ได้แก่ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้เรียกว่าสัมมาทิฐิ ฯ
ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ได้แก่ ความดำริในเนกขัมมะ ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่าสัมมาสังกัปปะ ฯ
ก็สัมมาวาจาเป็นไฉน ได้แก่ เจตนา เป็นเครื่องงดเว้นจากพูดเท็จ จากพูดส่อเสียด จากพูดคำหยาบ จากเจรจาเพ้อเจ้อนี้เรียกว่า สัมมาวาจา ฯ
ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน ได้แก่ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร นี้เรียกว่าสัมมากัมมันตะ ฯ
ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละมิจฉาชีพแล้ว สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยสัมมาชีพ นี้เรียกว่าสัมมาอาชีวะ ฯ
ก็สัมมาวายามะเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมให้เกิดฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น ๑ เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วเสีย ๑ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นได้เกิดขึ้น ๑ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฝือ เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ และบริบูรณ์ของกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ นี้เรียกว่าสัมมาวายามะ ฯ
ก็สัมมาสติเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ... เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต ... เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ นี้เรียกว่าสัมมาสติ ฯ
ก็สัมมาสมาธิเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน ... อยู่ เป็นผู้วางเฉย เพราะหน่ายปีติ มีสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ... อยู่ เข้าจตุตถฌาน ... อยู่นี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ ฯ
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ฯ
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ได้ทรงประกาศธรรมจักรอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อันสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก ยังไม่เคยประกาศ ได้แก่ อริยสัจ ๔ นี้ ฯ
วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
เวทนา
...ความย่อ...
พระโมคคัลลานะทูลถามว่า ด้วยข้อปฏิบัติอย่างไร ภิกษุจึงได้ชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัญหา มีความสำเร็จอย่างยิ่ง เกษมจากโยคะธรรมอย่างยิ่ง ...
พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า โมคคัลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงอันใครๆไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ครั้นได้สดับดังนี้แล้ว เธอทราบธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง ครั้นทราบธรรมทั้งปวงชัดอย่างนี้แล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว ว่าเธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นสุขก็ดี จะเป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นว่า เป็นของไม่เที่ยง เมื่อเป็นดังนี้ เธอย่อมมีปัญญาในทางเบื่อหน่าย ในทางดับ ในทางสละคืนซึ่งเวทนา คือความรู้สึกในอารมณ์ทั้งปวง เมื่อเป็นดังนี้ เธอย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดๆในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสได้เฉพาะตน เพราะทราบชัดว่า ความเกิดสิ้นแล้ว พรมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะทำให้เป็นอย่างนี้ไม่มีอีกแล้ว ...
พระโมคคัลลานะทูลถามว่า ด้วยข้อปฏิบัติอย่างไร ภิกษุจึงได้ชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัญหา มีความสำเร็จอย่างยิ่ง เกษมจากโยคะธรรมอย่างยิ่ง ...
พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า โมคคัลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงอันใครๆไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ครั้นได้สดับดังนี้แล้ว เธอทราบธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง ครั้นทราบธรรมทั้งปวงชัดอย่างนี้แล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว ว่าเธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นสุขก็ดี จะเป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นว่า เป็นของไม่เที่ยง เมื่อเป็นดังนี้ เธอย่อมมีปัญญาในทางเบื่อหน่าย ในทางดับ ในทางสละคืนซึ่งเวทนา คือความรู้สึกในอารมณ์ทั้งปวง เมื่อเป็นดังนี้ เธอย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดๆในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสได้เฉพาะตน เพราะทราบชัดว่า ความเกิดสิ้นแล้ว พรมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะทำให้เป็นอย่างนี้ไม่มีอีกแล้ว ...
ดูกรโมคคัลลานะ โอวาทที่ว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงอันบุคคลไม่ควรยึดมั่นถือมั่นนั้น เป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็นยอดของธรรมอันเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ โดยไม่มีเชื้อเหลือ คือความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง อนุปาทาปรินิพาน
สิ่งใดที่บุคคลเข้าไปยึดมั่นแล้ว จะไม่ก่อให้เกิดทุกข์นั้น หามีไม่ แต่โลกนี้มีเหยี่อล่อ เพื่อให้ผู้ไม่รู้เท่าทันติดอยู่ สยบอยู่ หมกมุ่นพัวพันอยู่ และโลกก็นำทุกข์นั้นเจือลงไป แทรกซึมลงไว้ ในสิ่งที่บุคคลติดอยู่ หมกมุ่นพัวพันอยู่นั่นเอง โลกนี้พร่องอยู่เป็นนิจ ใครขวนขวายปรารถนาในอารมณ์โลก ก็เหมือนกับการตักน้ำไปเทรดทะเลทราย หรือการขนน้ำลงไปเทลงในมหาสมุทร เหนื่อยแรงเปล่า ชาวโลกจึงมีความเร่าร้อนดิ้นรน เพื่อให้เต็มปราถนา แต่ก็หาสำเร็จไม่ ยิ่งดื่มอารมณ์โลก ทุกข์เวทนาอย่างโลกๆ ก็ดูเหมือนว่า จะเพิ่มความอยากให้มากขึ้น เหมือนดื่มน้ำเค็ม ยิ่งดื่มยิ่งกระหาย หรือเหมือนคนที่เกาแผลคัน ยิ่งเกายิ่งคัน ยิ่งคันยิ่งเกา วนเวียนอยู่อย่างนั้น สู้คนที่พยายามรักษาแผลให้หาย แล้วไม่ต้องเกาไม่ได้ เป็นการดับที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง
วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
เห็นคุณค่า
พระมหากัปปินเถระ...ความย่อ...
สมัยพุทธกาล มีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งชื่อ พระมหากัปปินะราชา จะส่งอำมาตย์ออกไปสืบข่าวจากพระนครไปไกล ๒-๓ โยชน์ วันหนึ่งได้ทราบข่าวจากพวกพ่อค้าจากกรุงสาวัตถีว่า
พระเจ้ามหากัปปินะได้สดับดังนั้น ก็เกิดปิติ ท่านถามซ้ำอีก ๓ ครั้ง จึงรับสั่งให้พระราชทานรางวัลแก่พ่อค้า และสละราชสมบัติให้พระชายา ส่วนพระองค์เองก็เสด็จออกบวช
ส่วนพระนางอโนชาเทวี พระชายาเมื่อได้รับข่าวแล้ว เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า เสด็จออกบวชเช่นกัน ทั้งสองพระองค์สำเร็จเป็นพระอรหันต์
พวกภิกษุก็ตอบว่า
“ดูก่อนพราหมณ์ พวกเราใช่ว่าจะไม่ได้ความสุขที่ถาวรแล้ววิ่งไปหาความสุขชั่วคราว แต่พวกเราละทิ้งความสุขชั่วคราวเพื่อมุ่งไปสู่ความสุขอันเป็นอมตะ ซึ่งสามารถเห็นได้ในปัจจุบันต่างหากเล่า ดูก่อนพราหมณ์ เพราะว่ากามทั้งหลายเป็นของชั่วคราว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายมีมาก ธรรมนี้มีผลที่จะเห็นได้ด้วยตัวเอง ไม่จำกัดด้วยกาล เป็นของควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาไว้ในตน เป็นของอันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน” มารเมื่อเห็นว่าพวกภิกษุไม่ยอมเชื่อฟังตัวเอง จึงได้อันตรธานหายไป
มารได้กล่าวว่า “ดูก่อนภิกษุณี ท่านไม่ชอบใจอะไรหนอ”
จาลาภิกษุณีก็ตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เราไม่ชอบความเกิดเลย”
มารถามต่อว่า “ทำไมถึงไม่ชอบความเกิด ผู้เกิดมาแล้วย่อมบริโภคกาม ใครหนอให้ท่านยึดถืออย่างนี้ อย่าเลยภิกษุณี ท่านจงชอบความเกิดเถิด จะได้แสวงหาความสุขเรื่อยไป”
จาลาภิกษุณีก็กล่าวว่า “ผู้เกิดมาก็ต้องตาย ผู้ที่เกิดมาย่อมพบเห็นทุกข์ คือ การจองจำ การฆ่า การพลัดพรากจากบุคคลผู้เป็นที่รัก หรืออยู่กับผู้ไม่เป็นที่รัก เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ชอบความเกิด”
สมัยพุทธกาล มีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งชื่อ พระมหากัปปินะราชา จะส่งอำมาตย์ออกไปสืบข่าวจากพระนครไปไกล ๒-๓ โยชน์ วันหนึ่งได้ทราบข่าวจากพวกพ่อค้าจากกรุงสาวัตถีว่า
พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก
พระธรรมเกิดขึ้นแล้วในโลก
พระสงฆ์เกิดขึ้นแล้วในโลก
พระเจ้ามหากัปปินะได้สดับดังนั้น ก็เกิดปิติ ท่านถามซ้ำอีก ๓ ครั้ง จึงรับสั่งให้พระราชทานรางวัลแก่พ่อค้า และสละราชสมบัติให้พระชายา ส่วนพระองค์เองก็เสด็จออกบวช
เส้นทางเสด็จของพระเจ้ามหากัปปินะนั้น เต็มไปด้วยความยากลำบาก ผ่านทั้งป่าและภูเขา โดยเฉพาะแม่น้ำใหญ่ ๓ สาย จึงดำริว่า “ถ้าจะรอเวลาหาเรือหรือแพก็จะทำให้ล่าช้า เพราะความเกิดนำไปสู่ความแก่ ความแก่นำไปสู่ความเจ็บและความเจ็บนำไปสู่ความตาย ทุกลมหายใจเข้าออกย่อมนำไปสู่ความแก่และความตายทั้งนั้น เราไม่รู้ว่าความตายจะมาถึงเราเมื่อไร ดังนั้นเราออกบวชเพื่ออุทิศต่อพระรัตนตรัย ด้วยอานุภาพแห่งรัตนตรัยนั้น ขอให้น้ำนี้จงอย่าได้เป็นเหมือนน้ำเลย” ครั้นเสด็จลงสู่แม่น้ำ ม้าก็วิ่งไปเหมือนวิ่งบนแผ่นดินโดยไม่เปียกเลย
ส่วนพระนางอโนชาเทวี พระชายาเมื่อได้รับข่าวแล้ว เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า เสด็จออกบวชเช่นกัน ทั้งสองพระองค์สำเร็จเป็นพระอรหันต์
.....
ท่านทั้งสองเห็นความสำคัญว่า
โอกาสที่พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นนั้นยากแสนยาก
โอกาสที่พระธรรมจะปรากฏบนโลกนั้นยากแสนยาก
โอกาสที่พระสงฆ์จะพัฒนาตนไปสู่ความบริสุทธิ์หมดจดนั้นยากแสนยาก
.....
มารผู้ใจบาปได้เนรมิตร่างเป็นพราหมณ์แก่ ห่มหนังเสือ หายใจเสียงดังครืดคราดๆ เดินถือไม้เท้าเข้าไปหาหมู่ภิกษุสงฆ์ ผู้กำลังปรารภความเพียร เมื่อไปถึงก็ได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นว่า
“ท่านบรรพชิตทั้งหลาย พวกท่านแต่ละรูปล้วนเป็นคนหนุ่มกระชุ่มกระชวย มีผมดำ ประกอบด้วยความหนุ่มแน่น ยังอยู่ในปฐมวัยไม่ควรเบื่อหน่ายในกามารมณ์ทั้งหลาย ขอท่านจงบริโภคกามอันเป็นของมนุษย์เถิด อย่ายินดีในสิ่งที่มองไม่เห็นได้ด้วยตา หนีจากสุขอันสมบูรณ์ไปแสวงหาสุขอันไม่จีรังยั่งยืนเลย”
“ท่านบรรพชิตทั้งหลาย พวกท่านแต่ละรูปล้วนเป็นคนหนุ่มกระชุ่มกระชวย มีผมดำ ประกอบด้วยความหนุ่มแน่น ยังอยู่ในปฐมวัยไม่ควรเบื่อหน่ายในกามารมณ์ทั้งหลาย ขอท่านจงบริโภคกามอันเป็นของมนุษย์เถิด อย่ายินดีในสิ่งที่มองไม่เห็นได้ด้วยตา หนีจากสุขอันสมบูรณ์ไปแสวงหาสุขอันไม่จีรังยั่งยืนเลย”
พวกภิกษุก็ตอบว่า
“ดูก่อนพราหมณ์ พวกเราใช่ว่าจะไม่ได้ความสุขที่ถาวรแล้ววิ่งไปหาความสุขชั่วคราว แต่พวกเราละทิ้งความสุขชั่วคราวเพื่อมุ่งไปสู่ความสุขอันเป็นอมตะ ซึ่งสามารถเห็นได้ในปัจจุบันต่างหากเล่า ดูก่อนพราหมณ์ เพราะว่ากามทั้งหลายเป็นของชั่วคราว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายมีมาก ธรรมนี้มีผลที่จะเห็นได้ด้วยตัวเอง ไม่จำกัดด้วยกาล เป็นของควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาไว้ในตน เป็นของอันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน” มารเมื่อเห็นว่าพวกภิกษุไม่ยอมเชื่อฟังตัวเอง จึงได้อันตรธานหายไป
.....
มารได้กล่าวว่า “ดูก่อนภิกษุณี ท่านไม่ชอบใจอะไรหนอ”
จาลาภิกษุณีก็ตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เราไม่ชอบความเกิดเลย”
มารถามต่อว่า “ทำไมถึงไม่ชอบความเกิด ผู้เกิดมาแล้วย่อมบริโภคกาม ใครหนอให้ท่านยึดถืออย่างนี้ อย่าเลยภิกษุณี ท่านจงชอบความเกิดเถิด จะได้แสวงหาความสุขเรื่อยไป”
จาลาภิกษุณีก็กล่าวว่า “ผู้เกิดมาก็ต้องตาย ผู้ที่เกิดมาย่อมพบเห็นทุกข์ คือ การจองจำ การฆ่า การพลัดพรากจากบุคคลผู้เป็นที่รัก หรืออยู่กับผู้ไม่เป็นที่รัก เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ชอบความเกิด”
.....
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
จริงๆได้เคยหาอ่านศึกษาเรื่องยันต์มาบ้าง เห็นว่ายันต์และอักษรขอมนั้นสวยดี อิ สวา สุ นะ มะ อะ อุ นะ โม พุ ทธา ยะ นะ ม...
-
พระเจ้าโกรัพยะประทับนั่งแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระรัฐปาละว่า ท่านรัฐปาละผู้เจริญ ความเสื่อม ๔ ประการนี้ คือ ความเสื่อมเพราะชรา ๑ ความเสื่อมเพรา...
-
จากวันนี้ที่ได้ไปกราบสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่วัดบวรนิเวศวิหาร และได้ทำบุญ ก็ได้รับเหรียญพระไพรีพินาศมา ...