วันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

วิปัสสนา - ไตรลักษณ์ ขันธ์ ๕

เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เพราะบังเกิดขึ้นและฉิบหาย เสื่อมสิ้นและแปรปรวนเป็นอย่างอื่น

เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เพราะเบียดเบียนบีบคั้นเนืองๆ

เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารและวิสังขารล้วนเป็นอนัตตา เพราะมิได้เป็นไปในอำนาจ

ผู้เจริญติลักขณานุปัสสนา พึงรู้ฐานะทั้ง ๖

ดังนี้แล้ว ย่อมหน่ายในทุกข์คือบริหารซึ่งขันธ์ร่างกาย
นี้เป็นมรรคา เป็นอุบายแห่งพระนิพพาน

เมื่อเห็นลงเป็นยถาภูตญาณทัสสนะ ถอนคาหะ ๓ อย่างดังนี้ ก็ย่อมหน่ายทั้งในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

วันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

มรณานุสติ

• การเจริญมรณานุสติมีอานิสงส์มาก
ถ้าเราตระหนักชัดในความไม่แน่นอนของชีวิตนี้แล้ว
ไม่มีทางที่เราจะไปทะเลาะกับใคร
หรือจะไปอิจฉาใคร หรือเบียดเบียนใคร
เพราะอะไร เพราะเวลาไม่พอ

• วันนี้อาจเป็นวันสุดท้ายของชีวิตเรา
เราควรใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ รักษาใจให้เป็นบุญ
ชีวิตเรามีค่า เพราะมันมีจำกัด ฯ

- พระอาจารย์ชยสาโร -


อ่านตามแล้วก็คิดได้ว่า   

เราจะเอาความสุข(ที่ไม่จริง)ในชาตินี้ แต่ไม่รู้ว่าชาติหน้าจะเป็นอย่างไร จะได้เจอพระพุทธศาสนาไหม เจอแล้วจะมีโอกาสได้ศึกษาธรรมไหม ได้ศึกษาแล้วจะปฏิบัติไหม หรือจะทิ้งไปหากิเลสเหมือนเดิม

มันมากพอให้เรายอมแลกกับ 1 ชาติเลยหรือ?

หรือจะยอมทิ้งความสุข(ที่ไม่จริง)ในชาตินี้ แล้วมีสุคติอันแน่นอนเป็นที่ไป


เมื่อตัดสินใจได้แล้ว เราเหลือเวลาเท่าไหร่ก็ไม่ทราบได้ เพราะฉะนั้นก็ควรจะเพียรปฏิบัติ



"เพราะต้องการให้เป็นนิจจัง เที่ยงแท้ถาวร ยึดมั่นถือมั่น ชอบไปฝืนกฎธรรมชาติ เมื่อความจริงปรากฏจึงมีความทุกข์ต่าง ๆ นานา เป็นเพราะเราไม่ยอมรับความจริงตัวนี้นี่เอง ไปยึด ไปติด ไปหลง อยากให้สิ่งต่าง ๆ ที่เรารักอยู่กับเราตลอดไป ทั้ง ๆ ที่ไม่อาจฝืนกฏของความจริงที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนไม่เที่ยงแท้แน่นอนไม่ควรไปยึดติด ล้วนเป็นอนิจจัง ทุกสิ่งที่เรายึดติดล้วนเป็นสิ่งที่ให้ความทุกข์กับเราทั้งสิ้น"

วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ตัณหา

ตัณหา

ตัณหา คือ สภาพธรรมที่ยินดี พอใจ ติดข้อง

ความทะยานอยากในรูปสัมผัสอันเกิดจากความกำหนัด ความหลงใหล ความติดใจในสิ่งที่ตนเคยสัมผัสจากทวารทั้ง 5 อันเป็นอิฏฐารมณ์ คือ เป็นสิ่งน่าใคร่ น่าปรารถนา

การหลงมัวเมา ตัณหาที่เกิดขึ้นในกามคุณทั้ง 5 นำมาสู่จิตนึกทบทวน นึกใคร่หลงในสัมผัสที่เกิดขึ้น ทำให้ทะยานอยากที่จะสัมผัส และรับรู้อีกต่อไปเป็นนิจ


เวทนา - อุปาทาน - ตัณหา

จิตเป็นผู้คิดให้ได้ดีมีสุขทุกข์ขึ้น ส่วนตัณหานั้นก็ให้เกิดเห็นตาม

...พอเสวยเวทนาอย่างหนึ่งอย่างใด    เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ตาม    เขาย่อมครุ่นคิดคํานึง ย่อมบ่นถึง ย่อมหมกใจอยู่กับเวทนานั้น

เพราะถ้ามีอุปาทาน ยึดมั่นนั่นเป็นเขา นี่เป็นเรา จึงเกิดเป็นตัณหา

แล้วก็เป็นปัจจัยให้มีภพ ชาติ ชรามรณะ, ความโศรก ความครํ่าครวญ  ความทุกข์ ความเสียใจ ความคับแค้นผิดหวัง ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้


.....

ทีนี้ บุคคลที่บอกว่ามีความสุข เพราะได้รับความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วยึดมั่นถือมั่นว่า นี่คือตัวตนของเรา ก็เข้าใจไปว่า ความสุขนี้คือของเรา

ถ้าความทุกข์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ของเรา ทำนองเดียวกัน ความสุขก็ไม่ใช่ของเรา

รูป จิต เจตสิก เป็นอนัตตา แล้วจะถือความสุขเป็นของเราได้อย่างไร

ทีนี้ ถ้าให้ตัด ตอนมีความสุขนี่ท่าจะยากอยู่เหมือนกัน


แล้วก็นึกไปถึงสมัยที่พระพุทธองค์เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ

ขณะที่ท่านตัดสินใจออกบวช น่าจะเป็นช่วงที่มีความสุขสุดๆของชีวิตคนเราเลย มีพร้อมทั้งทรัพย์สินเงินทอง มีภรรยาที่จงรักภักดี และลูกชายที่เพิ่งเกิด สมบูรณ์แบบ ตามที่สังคมปรารถนา

การที่ต้องตัดใจในช่วงเวลาแบบนี้มันยากมากๆ
ไม่ได้มีใครบังคับ แต่ออกบวชด้วยกำลังใจจากพระองค์เองล้วนๆ

วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

คิริมานนทสูตร - วิมุตติ ๕

วันก่อนไปร้านหนังสือธรรมะ โชคดีที่ได้เจอหนังสือดีๆอีก...
อย่างหนังสือ ธรรมวิจารณ์ อ่านแล้วรู้สึกว่า ยังต้องศึกษาอีกมากเหมือนกัน


คิริมานนทสูตร


เรื่องที่มาของพระสูตรนี้ อันเป็นที่ถกเถียงกันก็ขอละไว้ 
เอาแต่เนื้อหาใจความที่น่าสนใจ ความว่า


สัญญา  ประการ คือ รูปสัญญา๑ นามสัญญา๑

คือรูป ร่างกายตัวตนทั้งสิ้นก็ดี คือนาม ได้แก่จิตเจตสิกทั้งหลายก็ดี

ก็ให้ปลงธุระเสีย อย่าถือว่ารูปร่างกายจิตเจตสิกเป็นตัวตน

และอย่าเข้าใจว่าเป็นของของตน

ทุกสิ่งทุกอย่างความจริงเป็นของภายนอกสิ้นทั้งนั้น



ถ้าหากว่า รูปร่างกายเป็นตัวตนเราแท้

เมื่อล่วงสู่ความแก่เฒ่าชรา ตาฝ้า หูหนวก เนื้อหนังเหี่ยวแห้ง

ฟันโยกคลอน เจ็บปวด เหล่านั้น เราก็จักบังคับได้ตามประสงค์

ว่าอย่าเป็นอย่างนั้น อย่าเป็นอย่างนี้ นี่เราบังคับไม่ได้ตามประสงค์

เขาจะเจ็บ จะไข้ จะแก่ จะตาย เขาก็เป็นไปตามหน้าที่ของเขา

เราหมดอำนาจที่จะบังคับบัญชาได้ เมื่อตายเราจะพาเอาไปสักสิ่งสักอันก็ไม่ได้

ถ้าเป็นตัวตนของเราแล้ว เราก็คงจะพา เอาไปได้ตามความปรารถนา



ดูกรอานนท์ ถึงจิตเจตสิกก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของของตน

หากว่าจิตเจตสิกเป็นเรา หรือเป็นของของเรา เราก็จักบังคับได้ตามประสงค์

ว่า จิต ของเราจงเป็นอย่างนี้จงเป็นอย่างนั้น จงสุขสำราญทุกเมื่อ

อย่าทุกข์อย่าร้อนเลยดังนี้ ก็จะพึงได้ตามปรารถนา นี่หาเป็นเช่นนั้นไม่

เขาจะคิดอะไรเขาก็คิดไป เขาจะอยู่จะไปก็ตาม เรื่องของเขา

เพราะเหตุร่างกายจิตใจเป็นอนัตตา

ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของของตน ให้ปลงธุระเสีย

อย่าเข้าใจถือเอา ว่าเป็นตัวตนและของของตนเถิด.


และอีกตอนหนึ่ง


บุคคลทั้งหลายผู้ปรารถนาเข้าสู่พระนิพพาน

จงวางเสียซึ่งใจอย่าอาลัยความสุข 

จึงจะได้ความสุขในพระนิพพาน ซึ่งเป็นความสุขอย่างยิ่ง อันหาส่วนเปรียบมิได้


เมื่อจะถือเอาความสุขในพระนิพพานแล้ว

ก็ให้วางใจในโลกีย์นี้เสียให้หมดสิ้น

อันว่าความสุขในโลกีย์ก็มีอยู่แต่ ในอินทรีย์ทั้ง  นี้เท่านั้น

คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น เป็นกามคุณทั้ง 

ประสาททั้ง  นี้เองเป็นผู้แต่งความสุขให้แก่จิต (ใจ)


ประสาทตานั้นเขาได้เห็นได้ดูรูป วัตถุสิ่งของอันดีงามต่างๆ ก็นำความสุขไปให้แก่จิต

ประสาทหูนั้นเมื่อเขาได้ยินได้ฟังศัพท์สำเนียง เสียงที่ไพเราะเป็นที่ชื่นชมทั้งปวง ก็นำความสุขสนุกสนานไปให้จิต


ผู้ที่จะนำตนไปมีสุขในพระนิพพาน

ต้องวางเสียซึ่งความสุขในโลกีย์

ถ้าวางไม่ได้ ก็ไม่ได้ความสุขในพระนิพพานเลย

ถ้าวางสุขในโลกีย์มิได้ ก็ไม่พ้นทุกข์ ด้วยความสุขในโลกีย์เป็นความสุขที่เจืออยู่ด้วยทุกข์



วิมุตติ 


1. ตทังควิมุตติ คือ ความหลุดพ้นชั่วคราว 
หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสได้ชั่วคราว เช่น เกิดความเจ็บปวด หายจากความโลภ เกิดเมตตา หายโกรธ เป็นต้น แต่ความโลภ ความโกรธนั้นไม่หายทีเดียว อาจจะกลับมาอีก เป็นต้น

2. 
วิกขัมภนวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้วยการสะกดไว้ 
หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสได้ด้วยกำลังฌาน คือ สะกดไว้ได้ด้วยกำลังฌาน เมื่อฌานเสื่อมแล้ว กิเลสเกิดขึ้นได้อีก เช่น เมื่อนั่งสมาธิสามารถสะกดข่มกิเลสไว้ เมื่อออกจากสมาธิกิเลสก็กลับมาอีกครั้ง เป็นต้น

3. 
สมุจเฉทวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นเด็ดขาด 
หมายถึง ความพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจอริยมรรค (มรรคมีองค์ 8) ละกิเลสได้อย่างเด็ดขาด ไม่เกิดกิเลสอีกต่อไป

4. 
ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้วยความสงบ 
หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลส เนื่องมาจากอริยมรรคอริยผลไม่ต้องขวนขวายเพื่อละกิเลสอีก

5. 
นิสสรณวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้วยสลัดออกไป 
หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสนั้นได้อย่างยั่นยืนตลอดไป ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ได้แก่ นิพพาน


บทความที่ได้รับความนิยม

คลังบทความของบล็อก