"พุทธปาฏิหาริย์ ตำนานหรือเรื่องจริง"
ความจริงเรื่องปาฏิหาริย์นั้น ไม่ได้เป็นที่คลางแคลงใจเลย
แต่เนื้อหาบางส่วนของผู้เขียนนั้นก็ตรงกับสิ่งที่คิดเหมือนกัน นั่นคือ
เมื่อพอได้อ่านได้ศึกษามากขึ้นกลับพบว่า บางเรื่องที่เคยได้ยินได้ฟังมา ไม่ได้มีในพระไตรปิฎก
อาจจะด้วยประเพณี ความเชื่อ ที่เข้ามามีอิทธิพล ก็ทำให้เรื่องราวคลาดเคลื่อนไป
บางเรื่องก็เกิดจากความไม่เข้าใจในภาษาบ้าง ก็อยากจะหาความแน่ชัดให้มากกว่านี้
ถึงอย่างไรก็ตาม เรื่องพุทธประวัตินั้น ไม่ถึงกับมีผลมากมายนัก เพราะสิ่งที่เกิดกับตนเองนั้นก็สร้างศรัทธาได้เต็มเปี่ยมแล้ว จึงมุ่งสนใจที่พระธรรมคำสอนมากกว่า
อ่านมาถึงบท"บำเพ็ญเพียรทางจิต" ก็จุดประเด็นความน่าสนใจ...
เมื่อพระมหาบุรุษทรงเลิกละทุกกรกิริยา เปลี่ยนมาทำความเพียรทางจิต ทรงดำริเปรียบเทียบอุปมา ๓ ข้อ ซึ่งพระองค์ไม่เคยสดับ ไม่เคยดำริมาก่อนเลย ด้วยพระปรีชาญาณของพระองค์อย่างแจ่มแจ้งว่า
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งมีกายไม่ได้หลีกออกจากกาม และมีความพอใจรักใคร่ในกาม ยังละให้สงบระงับไม่ได้ดี สมณพราหมณ์เหล่านั้น แม้ได้เสวยทุกเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อน ที่เกิดเพราะความเพียรก็ดี ไม่ได้เสวยก็ดี ก็ไม่ควรจะตรัสรู้ เหมือนไม้สดที่ชุ่มด้วยยาง บุคคลแช่ไว้ในน้ำ บุรุษมีความต้องการด้วยไฟ ถือเอาไม้สีไฟมาสีเข้า ด้วยหวังจะให้เกิดไฟ บุรุษนั้นก็ไม่อาจให้ไฟเกิดขึ้นได้ ต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า เพราะไม้นั้นยังสดมียางอยู่ ทั้งยังแช่อยู่ในน้ำ
อีกข้อหนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง แม้มีกายหลีกออกจากกามแล้ว แต่ยังมีความรักใคร่พอใจในกาม ยังละให้สงบระงับไม่ได้ดี สมณพราหมณ์เหล่านั้น แม้ได้เสวยทุกข์เวทนาเช่นนั้น อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ไม่ได้เสวยก็ดี ก็ไม่ควรจะตรัสรู้ เหมือนไม้สดที่ชุ่มด้วยยาง แม้ห่างไกลจากน้ำ บุคคลตั้งไว้บนบก บุรุษก็ไม่อาจสีให้เกิดไฟได้ ถ้าสีเข้า ต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า เพราะไม้นั้นแม้ตั้งอยู่บนบกแล้ว แต่ยังเป็นของสดชุ่มด้วยยาง
อีกข้อหนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีกายหลีกออกจากกามแล้ว และละความใคร่ในกาม ให้สงบระงับดีแล้ว สมณพราหมณ์เหล่านั้น ได้เสวยทุกข์เวทนาเช่นนั้น อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี แม้ไม่ได้เสวยเลยก็ดี ก็ควรจะตรัสรู้ได้ เหมือนไม้แห้งที่ไกลจากน้ำ บุคคลวางไว้บนบก บุรุษอาจสีให้เกิดขึ้นได้ เพราะเป็นของแห้ง ทั้งตั้งอยู่บนบก
ในวันตรัสรู้นั้น เมื่อพระองค์ทรงบรรลุฌานสี่ ก็ได้พบความรู้พิเศษที่เรียกว่า ญาณ 3 ประการ
๑) บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ตามระลึกได้ถึงชาติที่เคยเกิดมาตลอดสังวัฏฏกัลป์เป็นอันมาก ในราตรีปฐมยาม
๒) จุตุปปาตญาณ รู้ถึงการตายและการเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ในราตรีมัชฌิมยาม
เมื่อเห็นความเกิดตายอยู่เป็นประจำซ้ำซาก ก็ทรงสังเวชสลดพระหฤทัย จึงทรงหยั่งพระญาณลงพิจารณาปัจจยาการหรือปฏิจจสมุปบาทธรรม ได้ทรงค้นพบว่า ตัวเหตุที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสารอย่างไม่มีวันสิ้นสุดนั้นคือ "อวิชชา" มีปกติกำบังมิให้เห็นแจ้งในพระไตรลักษณญาณ พระจตุราริยสัจธรรม
พระองค์ผู้มีพระทัยผ่องแผ้ว น้อมเจริญพระวิปัสสนาญาณภาวนา เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์หรือรูปนาม
๓) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่สมบูรณ์พร้อมจนทำลายกิเลสอย่างละเอียดที่สุดได้หมดสิ้นไม่มีเชื้อเหลือ ในราตรีปัจฉิมยาม
บางส่วนคัดย่อจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น