จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและรูป
เมื่อทั้งสามสิ่งนี้มาประชุมกัน จึงเกิดผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
บุคคลเสวยเวทนาอันใด ก็จำเวทนาอันนั้น
บุคคลจำเวทนาอันใด ก็ตรึกถึงเวทนาอันนั้น
บุคคลตรึกถึงเวทนาอันใด ก็ปรุงแต่งเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันนั้น
บุคคลปรุงแต่งเนิ่นช้าที่เวทนาอันใด สัญญาเครื่องเนิ่นช้า อันเกิดจากการปรุงแต่งเกี่ยวกับรูปทั้งหลายที่พึงจะรู้ได้ด้วยตา -ไม่ว่าจะเป็นอดีตก็ดี เป็นอนาคตก็ดี เป็นปัจจุบันก็ดี- ก็จะครอบงำบุรุษ
*สัญญาเครื่องเนิ่นช้า (ปปัญจะ) หมายถึง กิเลสที่ทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อ ด้วยอำนาจแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ ต่างๆ
วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560
วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2560
อริยสัจ ๔ และ สติปัฏฐาน
อริยสัจ ๔ และ สติปัฏฐาน เป็นเรื่องที่ไม่เข้าใจมานาน
ยังเคยสนทนาว่า เพียงพูดว่า "อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค" ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่าจะถึงพระนิพพานได้อย่างไร
วันนี้ก็มีความเข้าใจมากขึ้น เพราะเจอมหาสติปัฏฐานสูตร ก็ไขข้อข้องใจเรื่องสติปัฏฐานได้เป็นอย่างดี จากเคยสงสัยว่า ให้ดูกาย ยืน เดิน นั่ง นอน ดูแล้วแล้วยังไง
จริงๆแล้ว สติปัฏฐานเริ่มที่สมถะและจบที่วิปัสสนา ในพระสูตร แม้จะดูกาย เวทนา จิต ธรรม ก็มักจะจบว่า "สักว่าเป็นที่รู้ สักว่าเป็นที่อาศัย ไม่ติดอยู่ ไม่ยึดถืออะไรๆ"
ในส่วนของธรรมนั้น ก็มีอริยสัจ ๔ เป็นบทพิจารณาหนึ่ง
ธรรมะทุกหัวข้อที่พระองค์สอน ก็เป็นไปเพื่ออริยสัจ เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริงนั่นเอง
เช่นว่า "สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา"
มีสังขารจึงมีความไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์
เพราะเป็นอนัตตา ไม่ควรยึดถือเป็นเรา เป็นของเรา
ก็เห็นทั้งทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรคในคราวเดียว
จึงสรุปได้ว่า...
ไม่ใช่สอนว่า "อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค"
แต่ธรรมะที่พระองค์สอนนั้นแหละ คืออริยสัจ ๔
(พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร พระพุทธเจ้าสอนอะไร...
จะเรียก ธรรมะ ก็ได้ แต่จะไม่เป็นเอก เพราะสิ่งที่พระองค์สอน ไม่เคยมีใครสอนมาก่อน นั่นคือ สอนให้เห็นความจริง เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น)
ยังเคยสนทนาว่า เพียงพูดว่า "อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค" ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่าจะถึงพระนิพพานได้อย่างไร
วันนี้ก็มีความเข้าใจมากขึ้น เพราะเจอมหาสติปัฏฐานสูตร ก็ไขข้อข้องใจเรื่องสติปัฏฐานได้เป็นอย่างดี จากเคยสงสัยว่า ให้ดูกาย ยืน เดิน นั่ง นอน ดูแล้วแล้วยังไง
จริงๆแล้ว สติปัฏฐานเริ่มที่สมถะและจบที่วิปัสสนา ในพระสูตร แม้จะดูกาย เวทนา จิต ธรรม ก็มักจะจบว่า "สักว่าเป็นที่รู้ สักว่าเป็นที่อาศัย ไม่ติดอยู่ ไม่ยึดถืออะไรๆ"
ในส่วนของธรรมนั้น ก็มีอริยสัจ ๔ เป็นบทพิจารณาหนึ่ง
ธรรมะทุกหัวข้อที่พระองค์สอน ก็เป็นไปเพื่ออริยสัจ เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริงนั่นเอง
เช่นว่า "สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา"
มีสังขารจึงมีความไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์
เพราะเป็นอนัตตา ไม่ควรยึดถือเป็นเรา เป็นของเรา
ก็เห็นทั้งทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรคในคราวเดียว
จึงสรุปได้ว่า...
ไม่ใช่สอนว่า "อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค"
แต่ธรรมะที่พระองค์สอนนั้นแหละ คืออริยสัจ ๔
(พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร พระพุทธเจ้าสอนอะไร...
จะเรียก ธรรมะ ก็ได้ แต่จะไม่เป็นเอก เพราะสิ่งที่พระองค์สอน ไม่เคยมีใครสอนมาก่อน นั่นคือ สอนให้เห็นความจริง เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
จริงๆได้เคยหาอ่านศึกษาเรื่องยันต์มาบ้าง เห็นว่ายันต์และอักษรขอมนั้นสวยดี อิ สวา สุ นะ มะ อะ อุ นะ โม พุ ทธา ยะ นะ ม...
-
พระเจ้าโกรัพยะประทับนั่งแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระรัฐปาละว่า ท่านรัฐปาละผู้เจริญ ความเสื่อม ๔ ประการนี้ คือ ความเสื่อมเพราะชรา ๑ ความเสื่อมเพรา...
-
จากวันนี้ที่ได้ไปกราบสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่วัดบวรนิเวศวิหาร และได้ทำบุญ ก็ได้รับเหรียญพระไพรีพินาศมา ...