นิยตมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งมีโทษมากกว่าอนันตริยกรรม คือ มีผลห้ามนิพพาน จนกว่าจะละความเห็นผิดเหล่านี้ ได้แก่
1. อเหตุกทิฎฐิ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเองเป็นเอง ไม่อาศัยเหตุปัจจัยให้เกิดให้มีขึ้น ไม่เชื่อในเหตุ
2. นัตถิกทิฎฐิ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ผลอันเนื่องมาแต่เหตุผลของการทำดีทำชั่ว ไม่มีโลกนี้โลกหน้า สัตว์บุคคลไม่มี เป็นแต่ธาตุประชุมกันตายแล้วสูญไม่เกิดอีก เชื่อว่าไม่มีอะไรทั้งนั้น
3. อกิริยทิฎฐิ เห็นว่าการกระทำใดๆ ไม่ชื่อว่าเป็นอันกระทำ ผลบาปบุญไม่มีแก่ผู้ทำกระทำแล้วก็เป็นอันแล้วกันไป ปฏิเสธการกระทำโดยประการทั้งปวง
.....
ช่วงนี้ได้พูดคุยได้ฟังมา จึงเกิดความนึกคิดประการหนึ่ง
ด้วยจุดประสงค์อันใด ผู้นับถือศาสนาจึงเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงความเชื่อ หรือกระทั่งเปลี่ยนแปลงคำสอน เพื่อที่จะได้ตอบคำถามให้ถูกใจผู้อื่น
การนับถือพระพุทธศาสนาจำเป็นต้องอาศัยผู้อื่นรับรองด้วยอย่างนั้นหรือ
คำสอนที่ถูกต้อง ย่อมเป็นจริงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง
แต่การเปลี่ยนแปลงคำสอนเพื่อให้ตอบคำถามคนหมู่มากได้ แล้วต้องผิดแผกไปจากความจริงจะเกิดประโยชน์อันใด
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ผลอันเกิดจากการปฏิบัติธรรมนั้น ทุกคนที่น้อมนำมาปฏิบัติ จะรู้ซึ้งถึงผลแห่งพระธรรมนั้นด้วยตนเอง ทำให้กันไม่ได้ เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ประจักษ์ในใจของตนเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น