การให้ทานของพระสกิทาคามี
ต้องประกอบทั้งทานภายนอกและทานภายใน ทานภายใน ได้แก่ อภัยทาน คือ บรรเทาความโลภ บรรเทาความโกรธ และบรรเทาความหลง หมายความว่า จิตที่เกาะอยู่ในวัตถุเกือบจะไม่มี เราเพียงแต่อาศัยมันเพื่อยังชีพให้ทรงอยู่ จะตายเมื่อไหร่ก็ช่าง
อภัยทาน หมายความว่า บุคคลผู้ใดก็ดีที่ทำให้เป็นที่ไม่ถูกใจเรา เราไม่พอใจเขาในอากัปกิริยาด้วยกายก็ดีวาจาก็ดี แต่อารมณ์ของเรานี้ประกอบไปด้วยปัญญาที่มีความรู้สึกอยู่ว่า ขันธ์ 5 มีสภาพไม่ทรงตัว ร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของเขาก็ดี เป็นแต่เพียงเปลือกภายนอกที่ประกอบไปด้วยธาตุ 4 มีความสกปรก น่าสะอิดสะเอียน ไม่มีปัจจัยของความสุข มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และสลายตัวไปในที่สุด
ฉะนั้น คนที่ทำให้เราไม่ชอบใจ เราก็มีความรู้สึกว่า ถ้าเราจะทำลายเขา เราจะล้างผลาญเขา เราจะกลั่นแกล้งเขา ก็ไม่มีอะไรเป็นผลแห่งความดี เราให้อภัยในความผิด
นึกถึงการให้อภัยไว้เป็นปกติ ไม่ถือโทษโกรธเคือง ไม่ผูกโกรธ ถือว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา ก็เป็นปัจจัยให้เรามีความสุข คนเราเกิดมาจะให้ดีทุกอย่างมนเป็นไปไม่ได้
แล้วก็มาเทียบกับร่างกายเราว่า ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะอาศัยมีร่างกาย ขันธ์ 5 ที่ประกอบไปด้วยธาตุ 4 จะพึงมี ก็ขอมีอยู่ชาตินี้เท่านั้น จิตใจของเราไม่น้อมไปที่จะมีความรักในกาย จิตใจของเราเต็มไปด้วยการให้อภัย
อย่างนี้องค์สมเด็จพระชินศรีเรียกบุคคลนั้นว่า พระสกิทาคามี
การให้ทานของพระอนาคามี
ทานภายใน ได้แก่ การให้อภัยกับจิต คือจิตที่คิดว่าจะผูกพันธ์ในร่างกายเราก็ดี ร่างกายบุคคลอื่นก็ดี อารมณ์ประเภทนี้ไม่มี เรายกให้เป็นภาระหน้าที่ของตัณหา ของอุปาทาน ความผูกพันในร่างกายนี้ไม่มีในจิตของเรา เพราะว่ามีความรังเกียจสะอิดสะเอียนในร่างกาย กายเราก็ดี กายบุคคลอื่นก็ดี เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก ประกอบไปด้วยความทุกข์ ความเกิดมาก็เป็นทุกข์ ความหิวกระหายเป็นทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ มองกายที่เต็มไปด้วยความสกปรกเหมือนซากศพ เต็มไปด้วยน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง อุจจาระ ปัสสาวะ ในที่สุดก็พังสลายไป
จิตใจของเราหมดความผูกพันในร่างกาย ในด้านความโกรธ ขึ้นชื่อว่าการกระทบกระทั่งสิ่งที่ไม่ชอบใจไม่มีสำหรับเรา มีจิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ก็เพราะคนที่เกิดมานี่อาศัยความโง่เป็นกำลัง มีกิเลสตัณหาอุปาทาน เขาจึงสร้างความชั่ว แต่สำหรับเราจะไม่ยอมให้ชั่วแบบนั้น
น้อมใจไปในด้านความสุข คือไม่ติดกามฉันทะทั้ง 5 คิดให้อภัยอยู่เสมอ ใครจะด่า จะว่า จะนินทาว่าร้าย จะแกล้งประการใด ใจมีความสุข คิดว่านี่มันเป็นธรรมดาที่เราเกิดมามีร่างกาย กำลังใจสบายไม่สะทกสะท้าน
อันนี้เป็นอารมณ์ของพระอนาคามี
การให้ทานของพระอรหันต์
คิดว่าสภาวะร่างกายของความเป็นมนุษย์ที่ประกอบไปด้วยธาตุ 4 คือร่างกายนี้เป็นภัยใหญ่ ทุกข์ใดๆที่มีขึ้นมาได้ก็เพราะอาศัยร่างกายเป็นเหตุ ความรู้สึกต้องการร่างกายเราก็ดี ร่างกายคนอื่น ความพอใจในวัตถุต่างๆที่จะยึดเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็ดี หมดสิ้นไปจากกำลังใจ เพราะเห็นว่าร่างกายเป็นปัจจัยของความทุกข์ มันมาเพราะร่างกายเป็นสำคัญ
ร่างกายนี้มีขึ้นมาได้เพราะอาศัยตัณหาเป็นต้นเหตุ จิตคิดอยู่เสมอว่า ร่างกายเป็นแต่เพียงธาตุ 4 มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในมัน มันไม่มีในเรา พอจิตมาถึงตอนนี้ก็อุทิศว่า อะไรจะมากระทบกระทั่งร่างกายก็ดี กระทบใจก็ดี เราไม่ยอมรับ เรายกให้เป็นกฎของธรรมดา เพราะเกิดมาต้องเป็นอย่างนั้น
อย่างนี้องค์สมเด็จพระประทีปแก้วกล่าวว่าบุคคลนั้นเป็น พระอรหันต์
ต้องประกอบทั้งทานภายนอกและทานภายใน ทานภายใน ได้แก่ อภัยทาน คือ บรรเทาความโลภ บรรเทาความโกรธ และบรรเทาความหลง หมายความว่า จิตที่เกาะอยู่ในวัตถุเกือบจะไม่มี เราเพียงแต่อาศัยมันเพื่อยังชีพให้ทรงอยู่ จะตายเมื่อไหร่ก็ช่าง
อภัยทาน หมายความว่า บุคคลผู้ใดก็ดีที่ทำให้เป็นที่ไม่ถูกใจเรา เราไม่พอใจเขาในอากัปกิริยาด้วยกายก็ดีวาจาก็ดี แต่อารมณ์ของเรานี้ประกอบไปด้วยปัญญาที่มีความรู้สึกอยู่ว่า ขันธ์ 5 มีสภาพไม่ทรงตัว ร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของเขาก็ดี เป็นแต่เพียงเปลือกภายนอกที่ประกอบไปด้วยธาตุ 4 มีความสกปรก น่าสะอิดสะเอียน ไม่มีปัจจัยของความสุข มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และสลายตัวไปในที่สุด
ฉะนั้น คนที่ทำให้เราไม่ชอบใจ เราก็มีความรู้สึกว่า ถ้าเราจะทำลายเขา เราจะล้างผลาญเขา เราจะกลั่นแกล้งเขา ก็ไม่มีอะไรเป็นผลแห่งความดี เราให้อภัยในความผิด
นึกถึงการให้อภัยไว้เป็นปกติ ไม่ถือโทษโกรธเคือง ไม่ผูกโกรธ ถือว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา ก็เป็นปัจจัยให้เรามีความสุข คนเราเกิดมาจะให้ดีทุกอย่างมนเป็นไปไม่ได้
แล้วก็มาเทียบกับร่างกายเราว่า ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะอาศัยมีร่างกาย ขันธ์ 5 ที่ประกอบไปด้วยธาตุ 4 จะพึงมี ก็ขอมีอยู่ชาตินี้เท่านั้น จิตใจของเราไม่น้อมไปที่จะมีความรักในกาย จิตใจของเราเต็มไปด้วยการให้อภัย
อย่างนี้องค์สมเด็จพระชินศรีเรียกบุคคลนั้นว่า พระสกิทาคามี
การให้ทานของพระอนาคามี
ทานภายใน ได้แก่ การให้อภัยกับจิต คือจิตที่คิดว่าจะผูกพันธ์ในร่างกายเราก็ดี ร่างกายบุคคลอื่นก็ดี อารมณ์ประเภทนี้ไม่มี เรายกให้เป็นภาระหน้าที่ของตัณหา ของอุปาทาน ความผูกพันในร่างกายนี้ไม่มีในจิตของเรา เพราะว่ามีความรังเกียจสะอิดสะเอียนในร่างกาย กายเราก็ดี กายบุคคลอื่นก็ดี เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก ประกอบไปด้วยความทุกข์ ความเกิดมาก็เป็นทุกข์ ความหิวกระหายเป็นทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ มองกายที่เต็มไปด้วยความสกปรกเหมือนซากศพ เต็มไปด้วยน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง อุจจาระ ปัสสาวะ ในที่สุดก็พังสลายไป
จิตใจของเราหมดความผูกพันในร่างกาย ในด้านความโกรธ ขึ้นชื่อว่าการกระทบกระทั่งสิ่งที่ไม่ชอบใจไม่มีสำหรับเรา มีจิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ก็เพราะคนที่เกิดมานี่อาศัยความโง่เป็นกำลัง มีกิเลสตัณหาอุปาทาน เขาจึงสร้างความชั่ว แต่สำหรับเราจะไม่ยอมให้ชั่วแบบนั้น
น้อมใจไปในด้านความสุข คือไม่ติดกามฉันทะทั้ง 5 คิดให้อภัยอยู่เสมอ ใครจะด่า จะว่า จะนินทาว่าร้าย จะแกล้งประการใด ใจมีความสุข คิดว่านี่มันเป็นธรรมดาที่เราเกิดมามีร่างกาย กำลังใจสบายไม่สะทกสะท้าน
อันนี้เป็นอารมณ์ของพระอนาคามี
การให้ทานของพระอรหันต์
คิดว่าสภาวะร่างกายของความเป็นมนุษย์ที่ประกอบไปด้วยธาตุ 4 คือร่างกายนี้เป็นภัยใหญ่ ทุกข์ใดๆที่มีขึ้นมาได้ก็เพราะอาศัยร่างกายเป็นเหตุ ความรู้สึกต้องการร่างกายเราก็ดี ร่างกายคนอื่น ความพอใจในวัตถุต่างๆที่จะยึดเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็ดี หมดสิ้นไปจากกำลังใจ เพราะเห็นว่าร่างกายเป็นปัจจัยของความทุกข์ มันมาเพราะร่างกายเป็นสำคัญ
ร่างกายนี้มีขึ้นมาได้เพราะอาศัยตัณหาเป็นต้นเหตุ จิตคิดอยู่เสมอว่า ร่างกายเป็นแต่เพียงธาตุ 4 มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในมัน มันไม่มีในเรา พอจิตมาถึงตอนนี้ก็อุทิศว่า อะไรจะมากระทบกระทั่งร่างกายก็ดี กระทบใจก็ดี เราไม่ยอมรับ เรายกให้เป็นกฎของธรรมดา เพราะเกิดมาต้องเป็นอย่างนั้น
อย่างนี้องค์สมเด็จพระประทีปแก้วกล่าวว่าบุคคลนั้นเป็น พระอรหันต์
อาศัยทานบารมีอย่างเดียว ก็เข้าถึงพระนิพพานได้
- คัดย่อจากธรรมปฏิบัติ ๓๘