วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ



วันนี้เดินดูหนังสือเล่มหนึ่งเนื้อหาน่าสนใจ สอนเกี่ยวกับธรรมโดยตรง ถูกกับจริตดี
จริงๆแล้ว คำสอนไม่ต้องอธิบายมากเลย 
ไม่ว่าจะเริ่มจากมุมไหน สุดท้ายคำสอนจะมุ่งมาที่เดียวกัน


ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ     สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ  

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา


อย่างคำสอนแรกที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนแก่ปัญจวัคคีย์ ถึงทางสายกลาง และอริยสัจ 4
และคำตอบที่พระอัสสชิบอกแก่พระสารีบุตร ต่างก็เน้น เหตุแห่งธรรม


ซึ่งเป็นไปเพื่อ สังขารุเปกขาญาณ
คือญาณอันเป็นกลางต่อสังขาร เข้าใจสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามความเป็นจริงด้วยปัญญา ไม่ยินดียินร้าย ไม่ติดในในสังขารทั้งปวง และน้อมมุ่งสู่ความหลุดพ้นคือพระนิพพานเป็นที่สุด
จนได้สัจจานุโลมิกญาณ ญาณอันหยั่งรู้ตามอริยสัจ อันเป็นขั้นสุดท้ายในวิปัสสนาญาณ

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

อย่าเป็นทาสของอดีต


เมื่อวานเดินดูหนังสือ สะดุดกับคำหนึ่งในหนังสือของอ.วศินว่า

 "อย่าเป็นทาสของอดีต"


ช่วยหยุดความคิดมากที่มีอยู่ได้ดีทีเดียว



ในหนังสือเส้นผมบังความสุขของพระไพศาลเขียนไว้


ให้มีสติ ไม่หมกมุ่นครุ่นคิดกับสิ่งที่ผ่านไป ไม่ปล่อยให้อารมณ์ต่างๆมาครองใจ
ไม่ให้อารมณ์อกุศลเข้ามา และไม่ให้ฟุ้งซ่าน เพราะฟุ้งซ่านเมื่อไหร่ ใจก็ทุกข์ทันที


นึกไปถึงโพสต์ก่อนหน้าว่า จิตไม่มีความเศร้าหมอง เพราะยอมรับทุกอย่างว่าเป็นของธรรมดา 




เมื่อเราลองออกมายืนนอกวง แล้วลองมองกลับเข้าไปในความคิดของปุถุชน(คนอื่น)
ช่างเหมือนน้ำขึ้นลง หาความสงบนิ่งไม่ได้
ทำให้เกิดความรู้สึกว่า ถ้าเราออกมาได้แล้ว ก็ไม่อยากกลับเข้าเป็นแบบนั้นอีกเลย



ช่วงไม่กี่วันนี้ สังเกตดูตัวเองกับสิ่งที่เกิดขึ้น พบว่าตัวเองไม่ได้รู้สึกกระเทือนใจอย่างที่อาจจะเป็น
นี้คงเป็นผลมาจากคำสอนของพระพุทธเจ้าและหลวงพ่อนั่นเอง


นับว่าเป็นวิชาที่วิเศษที่สุด

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ


ไม่น่าเชื่อว่าเราจะเจอเรื่องดราม่าๆ ออกแนวชีวิตจริงยิ่งกว่านิยายได้

ทั้งที่ก่อนหน้านี้ก็ปกติสุขดี อยู่ในศีลธรรม หรือคนอื่นไม่เห็นอย่างนั้นก็ไม่ทราบได้?
เกิดเรื่องขึ้นแล้ว กลับรู้สึกว่า อย่าดึงฉันลงไปเกี่ยวข้องกับเรื่องพวกนี้

ชวนให้นึกถึงคำพูดของท่านยสกุลบุตรก่อนที่จะออกบวชว่า "ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ"

.....

ท่านยสกุลบุตรนั้นเป็นลูกเศรษฐี มีปราสาท 3 หลัง พร้อมด้วยบริวาร และกามคุณ 5

แต่มองเห็นความเบื่อหน่าย วันหนึ่งได้พบพระผู้มีพระภาค

พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดง อนุปุพพิกถา เพื่อยกจิตให้ปลอดจากนิวรณ์ และอริยสัจ 4 ตามลำดับ


อนุปุพพิกถา 5 คือ

1. ทานกถา ว่าด้วยการให้ทาน

2. สีลกถา ว่าด้วยการรักษาศีล

3. สัคคกถา ว่าด้วยความสุขในสวรรค์

4. กามาทีนวกถา ว่าด้วยโทษและความต่ำทรามของกาม

5. เนกขัมมานิสังสกถา ว่าด้วยอานิสงส์แห่งการหลีกออกจากกาม


อนุปุพพิกถานี้ ตามประวัติในพระพุทธศาสนาปรากฏว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงแก่มนุษย์ซึ่งเป็นคฤหัสถ์ ไม่ทรงแสดงแก่เทพยดา


อรรถกถาขณสูตรที่ 2 
 

ใครๆ ไม่อาจจะอยู่ประพฤติมรรคพรหมจรรย์ในนรกได้
เพราะได้รับแต่ทุกข์โดยส่วนเดียว
และไม่อาจอยู่ประพฤติมรรคพรหมจรรย์ในเทวโลกได้
เพราะเกิดความประมาทด้วยสามารถความยินดีในการเล่นโดยส่วนเดียว
เพราะได้รับความสุขโดยส่วนเดียว
ส่วนมนุษยโลก มีความสุขและความทุกข์ระคนกัน . . .


             การเจริญมรรคในที่นี้  นี้ก็เป็นกรรมภูมิ
          ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวชเป็นอันมาก
          ในที่นี้ก็เป็นฐานะอยู่   ท่านเกิดความสังเวชแล้ว
          ก็จงประกอบความเพียรโดยแยบคาย
          ในวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวชเถิด.

.....

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=576&Z=666
http://www.phutthathum.com/
http://palungjit.org/tripitaka/default.php?cat=2800220


บทความที่ได้รับความนิยม

คลังบทความของบล็อก