วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

"อยู่ในโลกของความคิดนึก"

แม้แต่การมองก็มองชั่วแอกเพื่อให้ระลึกอยู่เสมอว่า  ไม่ควรต่อเรื่องให้ยืดยาว  เมื่อเห็นแล้วก็ไม่ควรคิดวิจิตร

เป็นคนนั้น
เป็นคนนี้ เรื่องนั้น เรื่องนี้มากมาย เมื่อเห็นแล้วก็รู้ว่าเป็นเพียง “เห็น”

จะชั่วแอกหรือไม่ชั่วแอกก็ตาม   เห็นแล้วก็
จบ    ขณะนั้นก็จะไม่ผูกพันธ์เยื่อใย
 
จิต เมื่อเกิดขึ้น ก็ย่อมคิดนึก ไปในเรื่องราวต่างๆ ตามความทรงจำ ที่เคยจำไว้ จำไว้ในเรื่องอะไร ก็คิดไปในเรื่องนั้น เพียงแต่ว่า จะคิดด้วยกุศล หรือ
อกุศล ซึ่ง เพราะอาศัยกิเลสเป็นปัจจัย ก็ทำให้คิดไปในเรื่องราวต่างๆที่อยู่รอบตัว
และ คิดเรื่องตนเองก็ได้ แต่คิดด้วยจิตที่เป็นอกุศล ด้วยความฟุ้งซ่านเพราะอาศัย
เหตุ คือ กิเลสเป็นสำคัญ

ท่านเปรียบ จิต ดังเช่น ลิง คือ ลิงย่อมอยู่ไม่สุข เที่ยวไป เที่ยวมาในที่ต่างๆ จิต
ที่มากด้วยกิเลสก็เช่นกัน เปรียบเหมือนลิงที่อยู่ไม่สุข เที่ยวไปมาในอารมณ์ต่างๆ
ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ คิดไปในเรื่องราวต่างๆ
ซึ่งการจะจับลิง ห้ามไม่ให้ลิงไปที่ไหน  หรือ ห้ามจิต ไม่ให้ฟุ้งซ่านด้วยอกุศล ไม่ใช่
ตัวเราที่จะห้ามได้ แต่มีสภาพธรรมอย่างหนึ่ง คือ ปัญญาที่สามารถตัดกิเลส ได้ จน
หมดสิ้น ห้ามจิตที่เคยคิดไม่ดี ไปในอารมณ์ต่างๆ เป็นจิตที่ไม่มีอกุศล คิดไปในทาง
ที่ดีได้

ที่มา: คัดย่อจากกระดานสนทนา อยู่ในโลกของความคิดนึก
http://www.dhammahome.com/webboard/topic12422.html

วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ทางเลือก

นึกถึงคำสอนของหลวงพ่อว่า 'คนที่ทำให้คนอื่นไม่พอใจ เขาทำไปเพราะกิเลส'

เริ่มมองเห็นว่า เขาพูดเพราะกิเลส เพราะความโกรธครอบงำอยู่ ประกอบกับความไม่รู้ของเขาเอง

 
ก็คิดได้ว่า

จริงๆแล้ว คนเรามีทางเลือกนะ ว่า


เราจะเก็บความผิดพลาดของคนอื่นมาโกรธ

หรือ เราจะให้อภัยในความผิดพลาดของคนอื่น


คิดได้ดั่งนี้แล้ว ความโกรธก็หายเป็นปลิดทิ้ง และรู้สึกเหมือนได้ชัยชนะมา

ตรงกับคำพูดที่ว่า

การให้อภัย ชนะการให้ทั้งปวง

วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สีเล ปติฏฐาย นโร สปญฺโญ


ในราตรีหนึ่ง เทวบุตรองค์หนึ่งได้เข้าสู่สำนักองค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคในพระเชตวนาราม ทูลถามอรรถปัญหา เพื่อจะถอนเสียซึ่งวิจิกิจฉาความสงสัย ด้วยคาถาว่า

'สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้ ย่อมมีจิตอันตัณหาชฏามีอุปมาดังข่ายแห่งนายพรานครอบงำปกคลุมหุ้มห่อไว้ ทำอย่างไร บุคคลนั้นจะสามารถสางเสียซึ่งชัฏ คือตัณหา ได้'

" สีเล ปติฏฐาย นโร สปญฺโญ" "โส อิมํ วิชฏเย ชฏํ"

นรชนผู้มีปัญญา มีความเพียร ตั้งตนไว้ในศีล แล้วทำสมาธิจิต และปัญญาให้เจริญอยู่ นรชนนั้นจะพึงถางชัฏอันนี้เสียได้

"สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ, ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ" "เอส มคฺโค วิสุทธิยา"

เมื่อใด โยคีบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้น ก็จะเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้คือทางแห่งวิสุทธิ

บทความที่ได้รับความนิยม

คลังบทความของบล็อก